กัญชา

กัญชา

ชื่อสมุนไพร :          กัญชา
ชื่ออื่น ๆ 
:                ยานอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
                              กัญชาจีน (ทุกภาค)
                              คุนเช้า (จีน)
ชื่อสามัญ :             Cannabis, Marihuanam Indian Hemp, pot
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Cannabis sativa L.
ชื่อวงศ์ :                Cannabaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกัญชา เป็นพรรณไม้จำพวกหญ้าต้นเล็ก มีความสูงประมาณ 3-4 ฟุต ลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยม เป็นพืชกัญชาล้มลุกมีอายุได้แค่เพียงปีเดียว  เป็นระบบรากแก้ว (Tap root system) มีรากแขนงจำนวนมาก ลำต้นตั้งตรง สีเขียว

 

 

  • ใบกัญชา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปฝ่ามือ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก แต่ละแฉกรูปยาวรีกัญชากว้าง 0.3-1.5 เซนติเมตร ยาว 6-10เซนติเมตร โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง

 

 

  • ดอกกัญชา ดอกขนาดเล็ก แยกเพศต่างต้น (แต่อาจพบต้นที่มีดอกแยกเพศร่วมต้นได้บ้าง) ดอกเพศผู้ออกดอกกัญชาเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบชั้นเดียว 5 กลีบ กลีบไม่ติดกัน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ดอกเพศเมียเมียออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายยอด แต่ละดอกมีใบ ประดับสีเขียวเข้ม คล้ายกาบและมีขนเป็นต่อมหุ้มอยู่ ไม่มีกลีบดอก มีรังไข่ 1 อัน ภายในช่องเดียว

 

  • ผลกัญชา ผลเป็น achene ในผลนั้นจะมีเมล็ดกลมเล็ก ๆ มีขนาดเท่ากับลูกผักชี เป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ขนาดเล็ก เกลี้ยง สีนํ้าตาล

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, เมล็ด

สรรพคุณ กัญชา :

  • ใบ ใช้รักษาโรคหอบ หืด วิธีนำมาใช้โดยการนำเอาใบสดมาหั่นให้เป็นฝอย แล้วนำเอาไปตากแห้ง จากนั้นก็นำมาสูบใช้เป็นยารักษาโรค
  • ยอดอ่อน เมื่อนำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ซึ่งจะได้สารชนิดเรียกว่า ทิงเจอร์แคนเนบิสอินดิคา เป็นยาน้ำมีสีเขียวเมื่อกินเข้าไป ประมาณ 5-15 หยด ก็จะช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เป็นยาสงบเส้นประสาท ทำให้นอนหลับ เคลิ้มฝัน เป็นยาแก้อักเสบ (antiinflammation)เป็นยาระงับปวด (analgesic) แก้โรคสมองพิการ แก้โรคบิด แก้ปวดท้อง และแก้โรคท้องร่วง เป็นต้น
  • เส้นใยของลำต้น ใช้ในการทอผ้า ซึ่งจะได้ผ้าที่มีคุณภาพดี เหนียว คงทนมาก
  • ดอก ใช้เป็นยารักษาแก้โรคประสาท เช่น คิดมาก นอนไม่หลับ ใช้กับผู้ป่วยที่เบื่ออาหารโดยใช้ปรุงอาหารให้กิน ช่วยกัดเสมหะในคอ โดยใช้ดอกของมันผสมกับยาฉุนพญามือเหล็ก หั่น แล้วใช้สูบ
  • เมล็ด น้ำมันที่ได้จากการเมล็ดเป็นน้ำมันไม่ระเหย (fixedoil) ซึ่งจะนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำสบู่ สีทาบ้าน เป็นต้น นอกจากนี้เศษ หรือการที่ได้จากการสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว ยังใช้เป็นอาหารของโค กระบือ ได้

การใช้ยาตามตำรับยาการแพทย์แผนไทย

          สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เผยแพร่ข้อมูลตำรับยาในทางการแพทย์แผนไทย 16 ตำรับ ตัวอย่างเช่น

  1. ตำรับยาศุขไสยาสน์ มีที่มาจากคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ทั้งนี้พระนารายณ์มหาราชเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ข้อบ่งใช้ ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร ฟื้นฟูกำลังผู้ป่วยเรื้อรัง
    ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ ผู้ที่ไข้สูง
  2.  ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ มีที่มาจากตำรายาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ข้อบ่งใช้ แก้กษัยเหล็ก ลดอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งตับในระยะเริ่มต้น
    ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้ายที่มีภาวะเส้นเลือดแตกเป็นใยแมงมุม ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีตับวาย ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด

          และยังมียาตามตำรับการแพทย์แผนไทยอีก 14 ตำรับที่กรมแพทย์แผนไทยได้รับรองตามตำรับเดิมของคัมภีร์แพทย์แผนไทยโบราณของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ ตำรายาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 128 ตำรับยาอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ ตำรับยาเวชศาสตร์วัณ์ณณา ตำรับยาคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์) 

[su_spoiler title=”16 ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่” style=”fancy” icon=”caret-square”]ในขณะนี้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ในตำราการแพทย์แผนไทย โดยคำแนะนำของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและสภาการแพทย์แผนไทย มีทั้งหมด 16 ตำรับ โดยให้เสพเพื่อการรักษาโรค หรือการศึกษาวิจัย เพื่อให้เป็นตามหลักวิชาการ มีคุณภาพมาตรฐานที่กำหนดและนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ของประเทศ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2562 ประกอบไปด้วย

1. ยาอัคคินีวคณะ มาจาก คัมภีร์ธาตุพระนารายน์
2. ยาศุขไสยาศน์ มาจาก คัมภีร์ธาตุพระนารายน์
3. ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย มาจาก ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
4. ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ มาจาก ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
5. ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง มาจาก ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
6. ยาไฟอาวุธ มาจาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
7. ยาแก้นอนไม่หลับ/ยาแก้ไข้ผอมเหลือง มาจาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
8. ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง มาจาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
9. ยาอัมฤตโอสถ มาจาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
10. ยาอไภยสาลี มาจาก เวชศึกษา พระยาพิศณุประสาทเวช
11. ยาแก้ลมแก้เส้น มาจาก เวชศาสตร์วัณ์ณณา
12. ยาแก้โรคจิต มาจาก อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
13. ยาไพสาลี มาจาก อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
14. ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง มาจาก อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
15. ยาทำลายพระสุเมรุ มาจาก คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
16. ยาทิพยาธิคุณ มาจาก คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์

โดยในแต่ละตำรับยาจะมีสรรพคุณและวิธีการใช้ที่แตกต่างกันไป ซึ่งในขณะนี้ยังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 ก่อนใช้ต้องปรึกษาและได้รับการจ่ายยาจากแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมมาแล้วเท่านั้น[/su_spoiler]

[su_quote]ศาสตร์การแพทย์แผนจีน : เมล็ดกัญชา เพิ่มความชุ่มชื้นให้ลําไส้ บําบัดอาการท้องผูกแบบอุจจาระแข็ง เหตุนํ้าในร่างกายน้อยหรือเลือดพร่อง มักใช้ในผู้สูงอาย[/su_quote]

[su_quote]แพทย์ชาวโปรตุเกสได้บันทึกฤทธิของกัญชาในอินเดียว่า : ทําให้เคลิ้มสุข ทําให้สงบ กระตุ้นการย่อยอาหาร ทําให้ประสาทหลอน กระตุ้นกําหนัด[/su_quote]

[su_quote]หมายเหตุ : กัญชา ปัจจุบันนี้ในทางเภสัช ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษเพราะฤทธิ์ของมันทำให้ผู้ที่สูบ หรือเสพเข้าไปแล้วจะทำให้ติด ทำให้เพ้อฝัน ความจำเลอะเลือน ตัวสั่น และทำให้เป็นคนเสียสติเป็นคนวิกลจริตพิการได้อีกด้วย ฉะนั้นเมื่อมีการใช้ ในขนาด และปริมาณที่พอควร[/su_quote]

ใครสามารถปลูกกัญชา และปรุงยาจากกัญชาได้บ้าง?

แม้ประเทศไทยจะปลดล็อกกัญชาแล้ว แต่ในปัจจุบันก็เปิดให้ยื่นขออนุญาตปลูกกัญชาได้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยเท่านั้น ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ระบุว่า ผู้ที่สามารถปลูกกัญชาได้ มีดังนี้

  • หน่ายงานของรัฐ
  • สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีการสอน วิจัย ทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
  • ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สหกรณ์การเกษตร, วิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจสังคม ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา
  • ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (เภสัชกรรม ทันตกรรม การแพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย) 

การขออนุญาตปลูกกัญชา

สำหรับผู้ที่ต้องการจะขออนุญาตเพื่อปลูกกัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องประกอบไปด้วย 3 ข้อ ได้แก่

  1.  มีคุณสมบัติเป็นผู้ที่สามารถปลูกกัญชาได้ถูกต้องตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 หรือมีสถานะเป็นวิสาหกิจชุมชน และไปร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
  2. มีแผนโครงการ แผนกระบวนการผลิต และรายละเอียดการใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน 
  3. มีสถานที่ปลูกกัญชา ที่มีเอกสารสิทธิครอบครองที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้ที่สามารถปรุงยากัญชาได้

     สำหรับผู้ที่จะนำกัญชาไปปรุงยาได้นั้น จะต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย และหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้ตำรับยาที่มีกัญชาผสม จากหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุข

ส่วนการจำหน่าย หรือสั่งจ่ายยา ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ แต่ต้องเป็นตำรับยาที่ได้รับการยอมรับแล้วเท่านั้น

[su_youtube url=”https://www.youtube.com/watch?v=VN1KBqyYkuI” title=”ใบกัญชา ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย”]

Scroll to top