การะเกด

การะเกด

ชื่อสมุนไพร : การะเกด
ชื่ออื่นๆ
: การะเกดด่าง,  ลำเจียกหนู,  เตยดง, เตยด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus tectorius Blume
ชื่อวงศ์ : PANDANACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นการะเกด ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 3-7 เมตร ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาว และใหญ่
  • ใบการะเกด ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ กว้าง 0.7-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-9 เซนติเมตร ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาว 0.2-1 เซนติเมตร แผ่นใบด้านล่างมีนวล
  • ดอกการะเกด ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ออกตามปลายยอด มีจำนวนมาก ติดบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ยาว 25-60 เซนติเมตร มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม เกสรเพศผู้ติดรวมอยู่บนก้านซึ่งยาว 0.8-2 เซนติเมตร ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม ประกอบด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน 3-5 อัน เป็นกลุ่ม 5-12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มกว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายหยักตื้นเป็นร่องระหว่างยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นวง
  • ผลการะเกด ผลเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตร แต่ละผลกว้าง 2-6.5 เซนติเมตร ยาว 4-7.5 เซนติเมตร เมื่อสุกหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศจำนวนมาก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก

สรรพคุณ การะเกด :

  • ดอกการะเกด ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอม รับประทาน มีรสขมเล็กน้อย แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
Scroll to top