ขี้ครอก

ขี้ครอก

ชื่อสมุนไพร : ขี้ครอก
ชื่ออื่น ๆ
 : ขี้ครอก, หญ้าผมยุ่ง, หญ้าอียู, ขี้คาก(ภาคเหนือ-พายัพ), ซัวโบ๋เท้า(จีน), เส้ง, ปูลู(ภาคใต้), ขี้ครอก (ไทยภาคกลาง), ขี้หมู (นครราชสีมา), ปอเส้ง (ปัตตานี), ขมงดง(สุโขทัย)
ชื่อสามัญ : Caesar weed, Hibiscus burr, Jute africain
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Urena lobata Linn
ชื่อพ้อง : Urena americana L., Urena americana L. f., Urena diversifolia Schumach., Urena grandiflora DC., Urena monopetala Lour., Urena reticulata Cav., Urena tomentosa Blume, Urena trilobata
วงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขี้ครอก เไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 – 2 ม. เปลือกเหนียว ลำต้นสีเขียวแกมเทา มีขนรูปดาวปกคลุมตลอดลำต้น ยอดอ่อน ใบและก้านใบ
  • ใบขี้ครอก เป็นใบเดี่ยวมีการเกาะติดของใบบนต้นเรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ขนาดประมาณ 2-8 ซม. X 2-8 ซม. ปลายใบเว้าเป็น 3 พู ปลายแต่ละพูมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นคลื่นมีขนสากมือ ก้านใบยาว 1-5 ซม. มีหูใบ 1 คู่ รูปรี กว้าง 0.1 ซม. ยาว 0.2 ซม.
  • ดอกขี้ครอก ออกเดี่ยวๆ เกิดที่ซอกใบ สีชมพูแกมม่วง ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 3.0 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบประดับ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูม่วง ก้านชูสีขาวนวลรวมกันเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียไว้ ปลายเกสรแยกเป็น 10 ก้านสั้นๆ ส่วนปลายเป็นตุ่ม
  • ผลขี้ครอก ทรงกลมแป้นแบ่งเป็น 5 พู ผิวผลมีหนามแข็งสั้นและมีน้ำเหนียวติด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลขนาดประมาณ 2-2.5 มม. X 3-4 มม. มีพูละ 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น และใบ ใบ ราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ ขี้ครอก :

  • ต้นและใบ ใช้ต้มรับประทาน เป็นยารักษาโรคไตพิการ และยังเป็นยาช่วยขับปัสสาวะด้วย
  • ใบ ใช้ต้มเป็นยาใช้จิบรักษาอาการไอ ดับพิษเสมหะ
  • ราก ใช้รับประทานเป็นยาเย้นใช้ถอนพิษไข้ทั้งปวง

 

Scroll to top