ชื่อสมุนไพร : ข่อยหยอง
ชื่ออื่น ๆ : ข่อยหิน, เฮาสะท้อน, เฮาะสะต้อน (เชียงใหม่), หัสสะท้อน (เชียงราย), ข่อยนั่ง (ลำปาง), ชาป่า (จันทบุรี), ข่อยป่า (ตราด), คันทรง, คันเพชร (สุราษฎร์ธานี), ข่อยหยอง, ผักกรูด (ประจวบคีรีขันธ์), หัสสะท้อน (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), กะชึ่ม, ข่อยเตี้ย, ข่อยหนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus ilicifolius (Vidal) Corner
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นข่อยหยอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่มียาง สูงราว 10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีเทา ค่อนข้างขาว โคนลำต้นตรง เนื้อไม้เหนียว ส่วนบนค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปม และเป็นร่องเล็กน้อย
- ใบข่อยหยอง เรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว ริมขอบใบเป็นจักร มีหนามแหลมแข็งตามกิ่ง
- ดอกข่อยหยอง เป็นช่อดอกเล็ก สีขาวและเหลือง
- ผลข่อยหยอง กลมมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด เรียบ ผลอ่อนสีขาวหรือเทา เปลือกในมียางสีขาว เมื่อสุกผลสีเหลือง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้, ราก, ใบ
สรรพคุณ ข่อยหยอง :
- เนื้อไม้และราก ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับเมือกในลำไส้ และรักษาโรคกษัย ไตพิการ
- ใบ รสเมาเฝื่อน ตำกับข้าวสาร คั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาเจียนถอนพิษยาเบื่อเมาหรืออาหารแสลง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
- วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร. โอเดียนสโตร์:กรุงเทพมหานคร.
- วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2539. พจนานุกรม สมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4 .ประชุมทองการพิมพ์: กรุงเทพมหานคร.