ประยงค์

ชื่อสมุนไพร : ประยงค์
ชื่ออื่น :
ขะยง, ขะยม, พะยงค์, ยม, ประยงค์ใบใหญ่, หอมไกล, ประยงค์บ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia odorata Lour.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นประยงค์ เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มทึบค่อนข้างกลม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตรและสูงไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา
  • ใบประยงค์ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5 ใบ (บางใบอาจมีใบย่อยเพียง 3 ใบ) ประยงค์ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผิวใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก

 

  • ดอกประยงค์ เป็นช่อสั้น ๆ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กมากกว่า 10 ดอก ดอกย่อยเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นหอมแรง มีกลีบดอก 6 กลีบ กลีบดอกซ้อนกันไม่บานออก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมเล็กคล้ายไข่ปลาสีเหลือง
  • ผลประยงค์ เป็นรูปทรงกลมรี มีขนาดประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเหลืองอ่อน เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเกือบดำ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล 1-2 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ก้าน, ดอก, ราก

สรรพคุณ ประยงค์ :

  • ใบ,ก้าน รสเฝื่อน พอกแก้ฟกช้ำ แผล ฝี หนอง
  • ดอก รสขมเฝื่อนเล็กน้อย แก้ไอ แก้วิงเวียนศีรษะ ทำให้หูตาสว่าง ลดการอึดอัดแน่นหน้าอก แก้เมาค้าง ดับร้อน แก้กระหาย
  • ราก รสเย็นเฝื่อน ทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อ ยาเมา
Scroll to top