ปืนนกไส้

ชื่อสมุนไพร : ปืนนกไส้
ชื่ออื่นๆ :
กี่นกไส้ หญ้าก้นจ้ำขาว (สระบุรี), ด่อกะหล่อง (ปะหล่อง), บานดี่ (ลั้วะ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bidens pilosa L.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นปืนนกไส้ เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 15-100 เซนติเมตร แตกกิ่งปืนนกไส้ก้านมาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม

 

 

 

 

  • ใบปืนนกไส้ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบกลางมีขนาดใหญ่กว่าใบข้าง บางครั้งใบอาจเชื่อมติดกันดูเหมือนเป็นใบเดียวกัน ใบกว้างประมาณ 1-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-9 เซนติเมตร
  • ดอกปืนนกไส้ เป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกช่อมีประมาณ 1-3 ดอก ดอกเดี่ยวขนาด 1 ปืนนกไส้เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองหรือสีครีม กลีบดอกประกอบด้วยกลีบดอกวงนอกสีขาวครีม ดอกเป็นหมัน และดอกวงในเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว มีริ้วประดับลักษณะเป็นรูปช้อน มีเกสรเพศผู้สีน้ำตาลปลายสีเหลืองโผล่พ้นระดับกลีบดอกวงนอก ก้านดอกยาว
  • ผลปืนนกไส้ เป็นผลแห้งไม่แตก ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน แบน เป็นสัน 3-4 สัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ปืนนกไส้ส่วนผลแห้งเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ปลายแยกเป็นแฉกหนามสีเหลือง 2 อัน ขนาดยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ ปืนนกไส้ :

  • ทั้งต้น รสขมเฝื่อน ต้มดื่มแก้หวัด แก้ปวดท้อง
    ตำกับสุราทาแก้งูสวัด
    ตำกับน้ำตาลทรายแดงพอกรักษาโรคผิวหนัง ฝีพุพอง บวม
    ต้มเอาน้ำทาแก้ฝีที่หน้าแข้ง
    ผสมสมุนไพรอื่นต้มน้ำดื่ม แก้ไอมีน้ำมูกข้น
  • ใบ เป็นยาห้ามเลือด รักษาบาดแผล แผลบวม แผลเน่า

ยอดอ่อนนำมาต้มรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปแกง

Scroll to top