มะพอก

ชื่อสมุนไพร : มะพอก
ชื่ออื่นๆ :
กระท้อนลอก (ตราด), จัด, จั๊ด (ลำปาง), ท่าลอก (พล นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์), ประดงไฟ, ประดงเลือด (ราชบุรี), พอก (อุบลราชธานี), มะคลอก (สท อุตรดิตถ์), มะมื่อ, หมักมื่อ (เหนือ), หมักมอก (พล), หมากรอก (ประจวบคีรีขันธ์), ตะลอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parinari anamense Hance
ชื่อวงศ์ : ROSACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • มะพอก เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลา เปลือกสีน้ำตาลปนเทา เป็นสะเก็ดถี่ ๆ
  • ใบมะพอก เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ โคนใบมน ปลายใบหยักคอด เป็นติ่งสั้น ๆ เนื้อใบหนา ท้องใบมีคราบขาวเด่นชัด ขอบใบเรียบ
  • ดอกมะพอก ออกดอกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง มีก้านดอกสั้นมาก ดอกย่อยเล็ก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ บริเวณโคนกลีบ รองกลีบดอกจะเชื่อมเป็นรูปกรวยปากกว้าง ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน มีความยาวเท่า ๆ กับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มี 5-12 อัน รังไข่รูปทรงกลม
  • ผลมะพอก รูปรีหรือทรงกลม ผิวขรุขระมีตุ่มหรือสะเก็ดสีเทาปนน้ำตาลทั่วไป กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : แก่น

สรรพคุณ มะพอก :

  • แก่น  ต้มน้ำดื่มและอาบแก้ประดง (อาการโรคผิวหนัง เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย) แก้ผื่นคันแดงทั่วตัว ปวดแสบร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม
Scroll to top