อบเชยต้น

ชื่อสมุนไพร : อบเชยต้น
ชื่ออื่นๆ
: กระแจะโมง, กะเชียด, กะทังนั้น(ยะลา), กระดังงา(กาญจนบุรี), กะพังหัน, โกเล่, เนอม้า(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), เขียด, เคียด, เฉียด, ชะนุต้น(ภาคใต้), มหาปราบตัวผู้, อบเชย, อบเชยต้น(ภาคกลาง),  ดิ๊กซี่สอ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), บอกคอก(ลำปาง), ฝักดาบ(พิษณุโลก), พญาปราบ(นครราชสีมา), สะวง(ปราจีนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume
ชื่อวงศ์ : Lauraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นอบเชยต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 6-8 เมตร ไม่ผลัดใบทรงพุ่มกลมทึบหรือรูปเจดีย์ต่ำ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาหรือสีนํ้าตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กบางๆ
  • ใบอบเชยต้น ใบเดี่ยว ตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนาน กว้าง 2-8 เซนติเมตร ยาว 7-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาและแข็งกรอบ สีเขียวสดเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีคราบนวลขาว ก้านใบยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอม
    อบเชยต้น
  • ดอกอบเชยต้น สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้ง ยาว 10-25 เซนติเมตร ดอกตูมทรงกลม กลีบรวมเรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ สีเขียวรูปช้อนสั้นๆ เกสรเพศผู้ 12 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.3-0.4 เซนติเมตร
  • ผลอบเชยต้น ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมรีหรือรูปไข่ กว้าง 0.5-0.8 เซนติเมตร ยาว 1-1.2 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม เมื่อสุกสีนํ้าเงินเข้ม มีคราบสีขาว ฐาน รองรับผลเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 แฉก เมล็ดรูปไข่ สีนํ้าตาล

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือก, ใบ

สรรพคุณ อบเชยต้น :

  • เปลือก หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม
    เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา
    ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต
  • ใบ  เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ
  •  รากกับใบ ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่
Scroll to top