ชื่อสมุนไพร : กรวยป่า
ชื่ออื่นๆ : ก้วย, ผีเสื้อหลวง, สีเสื้อหลวง(ภาคเหนือ), ขุนเหยิง, บุนเหยิง(สกลนคร), คอแลน(นครราชสีมา), ตวย(เพชรบูรณ์), ตวยใหญ่, ตานเสี้ยน(พิษณุโลก), ผ่าสาม(นครพนม, อุดรธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Casearia grewiifolia Vent.
ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นกรวยป่า เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร
- ใบกรวยป่า ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป
- ดอกกรวยป่า มีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน
- ผลกรวยป่า มีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, เมล็ด, ราก, เปลือก
สรรพคุณ กรวยป่า :
- ใบ รสเมาเบื่อ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ริดสีดวงจมูก แก้บาดแผล
- ดอก รสเมา แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ
- เมล็ด รสเมาเบื่อ แก้ริดสีดวง ใช้เบื่อปลา
- ราก รสเมาขื่น แก้ท้องร่วง แก้ตับพิการ แก้พิษกาฬ แก้ผื่นคัน แก้ริดสีดวงต่างๆ
- เปลือก รสเมาขื่น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
[su_quote]กรวยที่พบในประเทศไทยมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ กรวยสน และกรวยป่า
กรวยสนใบยาวปลายแหลม เป็นมัน มีลูกติดตามกิ่งก้าน
ส่วนกรวยป่าใบยาวป้อม มีขนนุ่มใต้ใบ ให้ร่มเงาดี[/su_quote]