ชื่อสมุนไพร : กวาวเครือขาว
ชื่ออื่น ๆ : กวาวเครือ, กวาว, ทองเครือ, ทองกวาว, กวาวหัว ตามจอมทอง, จานเครือ, โพะตะกู, ตานเคือ, ตานเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica
วงศ์ : Leguminosae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- กวาวเครือขาว เป็นไม้เถาเนื้อแข็งอายุหลายปี จัดเป็นไม้เลื้อย หัว อยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม มีหลายขนาด ถ้าหัวที่มีอายุมากอาจหนักถึง 20 กิโลกรัม เมื่อเอามีดผ่าออกจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในจะมีสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก ส่วนหัวเล็ก เนื้อในจะละเอียด มีน้ำมาก และนิยมเพาะปลูกหรือพบมากทางภาคเหนือและอีสานของประเทศ
- ใบกวาวเครือขาว ประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง ใบย่อยคู่ข้างเบี้ยว กว้าง 7-13 ซม. ยาว 13-19 ซม. ปลายใบกวาวเครือขาวเรียวแหลมโคนใบรูปลิ่ม หรือตัด
- ดอกกวาวเครือขาว ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง กวาวเครือขาว ยาวได้ถึง 29 ซม. ดอกรูปดอกถั่ว สีม่วง
- ผลกวาวเครือขาว ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน กว้างได้ถึง 6 มม. ยาวได้ถึง 2.5 ซม. ผิวมีขนเมล็ดรูปคล้ายโล่ แบน สีม่วงแกมน้ำตาล
ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว, เปลือกเถา
สรรพคุณ กวาวเครือขาว :
- หัว รสเย็นเบื่อเมา บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ผอมแห้ง นอนไม่หลับ มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ทาหรือรับประทานทำให้เต้านมขยายตัว เส้นผมดกดำ เพิ่มเส้นผม เป็นยาปรับรอบเดือน อาจทำให้แท้งบุตรได้ บำรุงความกำหนัด ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์และมดลูกมีเลือดมาคั่งมากขึ้น บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ทำให้ความจำดี บำรุงโลหิต กินได้นอนหลับ ผิวหนังเต่งตึงมีน้ำมีนวล ถ้ารับประทานเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน อาจทำให้แท้งบุตรได้
“ในพม่าใช้ หัว เป็นยาอายุวัฒนะของทั้งหญิงและชาย แต่ไม่เหมาะกับคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์” - เปลือกเถา รสเย็นเบื่อเมา แก้พิษงู
[su_quote]สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุขนาดการใช้ดังนี้
การใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาบำรุงร่างกาย ให้รับประทานยาตำรับที่มีส่วนประกอบของผงกวาวเครือขาว ไม่เกิน 1-2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณวันละไม่เกิน 50-100 มิลลิกรัม อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ เจ็บเต้านม มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดหรือเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน[/su_quote]