ชื่อสมุนไพร : กะพวมมะพร้าว
ชื่ออื่นๆ : กะพวม, งวงช้าง (ภาคใต้), ขี้อ้น (ยะลา), จวง, อ้ายเหนียวหมา (นครศรีธรรมราช), ตอนเลาะ (กระบี่), นวลแป้ง (สุราษฎร์ธานี), สมองกุ้ง (ตรัง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vernonia arborea Ham.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- กะพวมมะพร้าว เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 7-15 ม. เปลือกสีขาว กิ่งอ่อนมีขนสีเหลือง
- ใบกะพวมมะพร้าว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนหรือมีขนตามเส้นใบ เส้นแขนงใบข้างละ 8-13 เส้น ก้านใบยาว 1-2 ซม.
- ดอกกะพวมมะพร้าว ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น มีหลายช่ออยู่รวมกันเป็นช่อแยกแขนง แต่ละช่อมีวงใบประดับ 5-6 ชั้น รูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนที่ปลาย กว้าง 4-6 มม. ยาวประมาณ 5 มม. มี 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นเส้นยาว 5-7 มม. ที่ปลายเส้นมีขนยาวประมาณ 1 มม. 2-3 เส้น ดอกสีขาวหรือม่วง โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5 มม. ปลายจัก 5 จัก เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ
- ผลกะพวมมะพร้าว ผลยาว 3-4 มม. มีสันตามยาว 10 สัน เกลี้ยงหรือมีขนห่างๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ
สรรพคุณ กะพวมมะพร้าว :
- ใบ ใช้เป็นชาชง มีฤทธิ์เป็นยาช่วยย่อย และเป็นยากระตุ้น