กำจาย

กำจาย

ชื่ออื่น : หนามจาย, ลำปาง, กำจาย, กระจาย, ขี้คาก(แพร่), ขี้แรด(ภาคกลาง), ตาฉู่แม, สื่อกีพอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะหนามจาย, มะนามจาย(ตาก), หนามแดง(ตราด), หนามหัน(จันทบุรี), ฮาย, ฮายปูน(ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia digyna Rottl.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAECAESALPINIOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกำจาย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมแข็ง
  • ใบกำจาย เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับ  ก้านใบยาว 14-22 เซนติเมตร มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อน หูใบเรียวแคบ ร่วงง่าย ใบย่อย 20-30 ใบ เรียงตรงข้าม กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร รูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักห่าง ๆ มีขน 
  • ดอกกำจาย เป็นช่อกระจะ สีเหลือง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 15-20 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 4-6 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก  กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน อับเรณูสีน้ำตาล ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ก้านชูอับเรณูสีเขียว ยาว 0.8-1 เซนติเมตร มีขนสีขาว รังไข่เหนือวงกลีบ
  • ผลกำจาย เป็นฝักแบบถั่ว รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร เมล็ด กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม เกลี้ยง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ทั้งต้น, ผล

สรรพคุณ กำจาย :

  • ราก รสเบื่อเย็นเล็กน้อย ขับโลหิตระดู แก้ไข้  แก้พิษงู ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษฝี รักษาแผลสด แก้แผลเรื้อรัง ทางภาคอีสาน ใช้รากผสมกับรากมะขามป้อม ต้มน้ำดื่มแก้กามโรค
  • ทั้งต้น ต้มน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน แก้พิษงู
  • ผล (ฝักสด) มีรสฝาด นำไปตำละเอียดห่อผ้าขาวบางคั้นเอาน้ำชำระล้างแผลสด ห้ามเลือด สมานแผล ทำให้หายเร็ว และรอยแผลเป็นไม่มี นำไปต้มดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง
Scroll to top