ชื่ออื่น : กำลังพญาเสือโคร่ง กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่) , ลำแค , ลำแค่ (ลั๊วะ) , นางพญาเสือโคร่ง , พญาเสือโคร่ง (คนเมืองเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betula alnoides Buch.-Ham.ex G.Don
ชื่อสามัญ : Birch
วงศ์ : Betulaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นกำลังพญาเสือโคร่ง เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐ -๓๕ เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ ๑-๒ เมตร เปลือกไม้(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาล เทา หรือ เกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน
- ใบกำลังพญาเสือโคร่ง ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ ๓-๘ มม.ใบ เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ ๗-๑๐ คู่
- ดอกกำลังพญาเสือโคร่ง ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ ๒-๕ ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว ๕-๘ ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ ๔-๗ อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๙ ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี ๓ หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย
- ผลกำลังพญาเสือโคร่ง แก่ร่วงง่าย แบน มีปีก ๒ ข้างปีกบางและโปร่งแสง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้นไม้
สรรพคุณ กำลังพญาเสือโคร่ง :
- เปลือกต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ แก้อาการท้องร่วง ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำอักเสบ แท้งบุตร ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ใช้ดมแก้อาการหน้ามืดตาลายได้
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” style=”fancy”] ใช้เปลือกต้น ถากออกจากลำต้น พอประมาณตามความต้องการ ใส่ภาชนะหรือกาน้ำ ต้มน้ำให้เดือด เคี่ยวไฟอ่อนๆ น้ำสมุนไพรจะเป็นสีแดง (ถ้าปรุงรสให้หอมหวานใช้ชะเอมพอสมควรกับน้ำตาลกรวด) ให้รับประทานขณะน้ำสมุนไพรอุ่นๆ จะมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
ถ้าใช้ดองกับสุรา สีจะแดงเข้ม (ถ้าจะปรุงรสและกลิ่นให้เติมน้ำผึ้ง-โสมตังกุย) สรรพคุณจะแรงขึ้นทวีคูณ ต้ม-ดองสุราได้ถึง3-4 ครั้ง จนกว่าจะหมดสีของสมุนไพร[/su_spoiler]