ขนุน

ขนุน

ชื่อสมุนไพร : ขนุน
ชื่ออื่น ๆ 
: ขนุน, ขะนู (ชอง-จันทบุรี), ขะเนอ (เขมร), ซีคึย, ปะหน่อย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),  นะยวยซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี),  นากอ  (มลายู-ปัตตานี), เนน (ชาวบน-นครราชสีมา), มะหนุน (ภาคเหนือ,ภาคใต้), ล้าง,ลาน (ฉาน-เหนือ),  หมักหมี้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ), หมากกลาง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Jack Fruit Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
วงศ์ : MORACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขนุน เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร มียางขาวทั้งต้น
  • ใบขนุน จะออกสวลับกัน และมีลักษณะกลมรียาวประมาณ 7-15 ซม. ตรงปลายใบของมันจะแหลมและสั้นฐานใบจะเรียว ใบอ่อนบางครั้งจะมีรอยเว้าเข้าลึก ๆ 2 รอย แบ่งใบออกเป็น 3 ส่วน หลังใบจะเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวคล้ายหนัง ก้านใบยาวประมาณ 1-2.5 ซม. ใบนั้นจะหลุดร่วงง่าย
  • ดอกขนุน จะออกเป็นช่อ และช่อดอกตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน ส่วนช่อดอกตัวผู้จะออกที่ปลายกิ่งหรือง่ามใบ เป็นแท่งยาวประมาณ 2.5 ซม. และมีกาบหุ้มช่อดอกอยู่ 2 กลีบ ดอกย่อยนั้นจะมีเกสรตัวผู้ 1 อัน ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาวออกจากลำต้นและกิ่งก้านขนาดใหญ่
  • เมล็ดขนุน (ผล) จะเป็นผลรวม มีลักษระกลมยาวประมาณ 25-60 ซมม. ขนาดใหญ่และอาจหนักถึง 20 กก. ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ดอาจจะมีสีเหลือง ถ้าสุกจะมีกลิ่นหอม เปลือกนอก จะเป็นตุ่มหนามเล้ก ๆ รูปหกเหลี่ยม

ส่วนที่ใช้เป็นยา  : เมล็ด, เนื้อหุ้มเมล็ด, ใบ, ยาง, แกนและราก

สรรพคุณ ขนุน :

  • เมล็ด ให้ใช้ประมาร 60-240 กรัม ต้มสุกกิน จะมีรสชุ่ม ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • เนื้อหุ้มเมล็ด ให้ใช้สด ผสมกับน้ำหวานกินบำรุงกำลัง หรือจะกินเป็นขนมก็ได้
  • ใบ ใช้สด นำมาตำให้ละเอียด อุ่นแล้วพอกแผล
  • ใบแห้ง ให้บดเป็นผงโรย หรือใช้ผสมทาตรงที่เป็นแผลใช้สำหรับภายนอก รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง
  • ยาง จะมีรสจืด ฝาดเล็กน้อย ให้ใช้ยางสด ทาบริเวณที่บวมอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองเกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง
  • แกนและราก ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทาน จะมีรสหวานชุ่ม รักษากามโรค และบำรุงเลือด
Scroll to top