ชื่อสมุนไพร : ขมิ้นเครือ
ชื่ออื่นๆ : ขมิ้นฤาษี, ผ้าร้ายห่อทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arcangelisia flava (L.) Merr.
ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นขมิ้นเครือ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ใช้โคนก้านใบที่โค้งงอคล้ายตะขอเกาะเหนี่ยวไปได้ไกล เนื้อไม้สีเหลือง
- ใบขมิ้นเครือ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปหัวใจหรือรูปไข่กว้าง ปลายใบเรียวแหลม มีเส้นโคนใบที่ยาวชัดเจน 3 เส้น ก้านใบยาวเรียว
- ดอกขมิ้นเครือ ดอกแยกเพศ ขนาดเล็ก สีขาวแกมเหลือง ออกบนช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามเถา
- ผลขมิ้นเครือ ผลสด กลม เมื่อสุกสีเหลือง มีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 อัน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, ใบ, ดอก, ราก
สรรพคุณ ขมิ้นเครือ :
- เถา รสร้อนฝาดเฝื่อนร้อน ใช้ขับผายลมและเรอ รักษาเนื่องจากน้ำดีพิการ ต้มดื่มแก้ไข้ ร้อนใน แก้ท้องเสีย เนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้ดีซ่าน
- ใบ รสร้อนฝาดเฝื่อน ใช้รับประทานเป็นยาขับโลหิตระดูสตรีที่เสียเป็นลิ่มหรือก้อนให้ขับออก ขับน้ำคาวปลา แก้มุตกิต แก้บิดมดลูก
- ดอก รสฝาดเฝื่อน รักษาอาการบิดมดลูก
- ราก รสร้อนฝาดเฝื่อน ใช้ขับลมแก้ลมอัมพฤกษ์ บำรุงน้ำเหลือง ฝนหยอดตา แก้ริดสีดวงตา แก้กระจกตา ตาแดง ตาแฉะ ตามัว และตา อักเสบ
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” style=”fancy” icon=”arrow-circle-2″]
1. แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นหรือราก 10-15 กรัม สับเป็นท่อนหรือเป็นชิ้น ล้างให้สะอาด ต้มในน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 10-15 นาที แล้วกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี)
2. ขับโลหิตระดูสตรี ขับน้ำคาวปลา โดยใช้ใบสด 10-20 กรัม ล้างให้สะอาดต้มในน้ำ 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง แล้วกรองเอาน้ำดื่ม เช้า-เย็น[/su_spoiler]