ขี้เหล็กเทศ

ขี้เหล็กเทศ

ชื่อสมุนไพร : ขี้เหล็กเทศ
ชื่ออื่น ๆ 
: ขี้เหล็กผี, พรมดาน, ชุมเห็ดเล็ก(ภาคกลาง), ขี้เหล็กเผือก, หมากกะลิงเทศ, ลับมืนน้อย, ผักเห็ด (ภาคเหนือ), กิมเต่าจี้, ม่อกังน้ำ (จีน), ผักจี๊ด (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Coffee Senna
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia occidentalis Linn.
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขี้เหล็กเทศ เป็นพรรณไม้ปีเดียวตาย ลำต้นมีความสูง 1-2 เมตร เนื้อไม้ตรงโคนต้นจะแข็ง และจะแตกกิ่งก้านสาขามาก
  • ใบขี้เหล็กเทศ จะออกสลับกัน ส่วนก้านใบนั้นเป็นใบร่วมยาวประมาณ 3-5 ซม. ตรงโคนใบจะมีตุ่มนูนออกมา 1 ตุ่ม ใบย่อยมีราว 3-5 คู่ คู่ปลายนั้นจะมีขนาดใหญ่ คู่ถัดไปจะมีขนาดเล็กลงนาตามลำดับ ลักษณะปลายย่อยนั้นจะรีปลายของมันจะแหลมยาวประมาณ 3-6 ซม. กว้างประมาณ 1-2 ซม. ส่วนฐานใบจะเบี้ยวข้างหนึ่ง ตรงขอบใบจะเรียบขนอ่อนนุ่ม ด้านหลังใบจะมีขนอ่อนนุ่มสั้น ๆ ถ้าขยี้ใบดมกลิ่นจะเหม็นเขียวหูจะเป็นใบเส้นมีลักษณะแหลมและหลุดร่วงง่าย
  • ดอกขี้เหล็กเทศ จะออกเป็นช่อตรงง่ามใบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ลักษระใบจะรีปลายแหลม ส่วนกลีบดอกจะมีสีเหลือง 5 กลีบ ตรงปลายกลีบดอกจะมนและกลม เกสร ตัวผู้นั้นจะมีอยู่ 10 อัน ส่วน 3 อันที่อยู่ตรงบนจะร่วงไป และอีก 7 อันที่อยู่รอบ ๆ ก็ตะเจริญเติบโตเต็มที่ลักษณะของรังไข่จะเป็นเส้นโค้ง มีขนสีขาวปกคลุม ปลายรังไข่นั้น จะมีก้านสั้นของเกสรตัวเมียอยู่
  • ฝักขี้เหล็กเทศ มีลักษณะเป็นเส้นตรงรูปทรงกระบอก แบนและมีขอบเห็นได้ชัดเจนทั้ 2 ด้าน มีความยาวประมาณ 6-10 ซม. กว้างประมาณ 3-4 มม. จะมีรอยตามขวางนูนขึ้นเปลือกฝักบาง เมล็ด (ผล) เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล ฝักหนึ่งจะมีเมล็ดประมาร 40 เมล้ด ลักษณะเมล็ดนั้นจะกลมมรีและแบน ปลายด้านใดด้านหนึ่งจะมีลักษณะค่อนข้างแหลม ผิวภายนอกจะเรียบและแข็ง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, ดอก, เมล็ด

สรรพคุณ ขี้เหล็กเทศ :

  • ทั้งต้นและใบ ใช้แห้งประมาณ 6-10 กรัม ส่วนใบสดเพิ่มอีกประมาณ 1 เท่าตัว ใช้ต้มกินหรือคั้นเอาน้ำกิน ถ้าใช้ภายนอก ควรตำก่อนแล้วใช้พอก กินจะมีรสขม ใช้ขับของเสียออกจากไต ใช้กล่อมตับ รักษาอาการบวม ถอนพิษ รักษาอาการไอ หอบ ท้องผูก หนองใน ปวดหัว ปัสสาวะเป็นโลหิต แผลบวมอักเสบ ตาแดง แมลงสัตว์กัดต่อย หรือถูงูกัด
  • ฝักและเมล็ด ใช้แงประมาณ 6-10 กรัม ใช้ต้มน้ำกินมีรสชุ่ม ขม แต่มีพิษ บำรุงกระเพาะอาหารใช้กล่อมตับ ทำให้การขับถ่ายดี และทำให้ตาสว่าง ใช้รักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี โรคบิด ปวดท้อง ท้องผูก ปวดหัวและถอนพิษ ปวดกระเพาะอาหาร วิงเวียน ตาบวมแดง ถ้าใช้ภายนอกควรบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วใช้ทาได้

หมายเหตุ : ทั้งต้นและใบควรใช้แห้ง หรือจะใช้สดก็ได้ ส่วนฝักและเมล็ดนั้น ควรเก็บเมื่อฝักแก่จัดเป็นสีน้ำตาล ตากแห้ง แล้วเด็ดก้านฝักออกแล้วหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ หรือใช้เกาะเปลือกเอาแต่เมล็ด เก็บตากแห้งไว้ได้

Scroll to top