ชื่อสมุนไพร : ข่าต้น
ชื่ออื่น ๆ : ไม้จวง, จวงหอม(ภาคใต้), กะเพาะต้น (สระบุรี), เทพธาโร(ปราจีน), จะไค้ต้น (พายัพ), มือแดกะมางิง(ปัตตานี), ตะไคร้ต้น(อิสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum parthenoxylon (Jack.) Messn.
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ข่าต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ บางต้นอาจสูงได้ถึง 25 เมตร เนื้อไม้จะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ และมีกลิ่นหอมฉุน ร้อนๆ
- ใบข่าต้น ดกและหนาทึบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และขนาดยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีเส้นใบคล้ายขนนก เรียงเป็นคู่ประมาณ 6-8 คู่ มีกิ่งขนาดเล็ก
- ดอกข่าต้น มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อคล้ายร่ม กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกนั้นมีลักษณะเป็นรูปไข่ สีขาวอมเขียว ภายในดอกมีขนเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 อัน
- ผลข่าต้น มีลักษณะเป็นรูปกลมไข่กลับสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ตรงขั้วเมล็ดจะมีสีแดง รูปเป็นแบบลูกกลมสามเหลี่ยม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ ต้น แก่นต้น เปลือกต้น ยาง
สรรพคุณ ข่าต้น :
- ใบ แก้ไข้เซื่องซึม ขับลม แก้ธาตุพิการ ขับเสมหะ แก้ลมจุกเสียด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร
- ต้น แก้ลมจุกเสียด ขับผายลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
- แก่นต้น แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้
- เปลือกต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับผายลม บำรุงธาตุ
- ยาง แก้พยาธิ แก้ฟกช้ำ แก้คุดทะราด ถ่ายโลหิตและน้ำเหลือง ทำให้ถ่ายอุจจาระ
- ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ลมจุกเสียด แก้แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับผายลม บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร แก้คลื่นเหียน แก้อาเจียน บำรุงธาตุไฟ