ชื่อสมุนไพร : คาง
ชื่ออื่นๆ : กาง, ก๋าง, ข่าง, คาง, คางแดง, จามจุรีดง, จามจุรีป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia lebbeckoides (DC.) Benth
ชื่อวงศ์ : FABACEAE–MIMOSOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นคาง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ สีเขียวเข้ม เปลือกสีเทาอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอ่อน มีรอยย่นเป็นริ้วตามแนวนอนเป็นจำนวนมาก ไม่เป็นระเบียบเกือบจะรอบลำต้นกิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลเหลืองทั่วไป แก่แล้วจะร่วงหลุดหมดไป
- ใบคาง ใบเป็นช่อยาว 10-30 ซม. ช่อใบมีขนบาง ๆ มีแขนงด้านข้าง 2-8 คู่ แต่ละช่อมีใบย่อย 6-24 คู่ ใบเบี้ยว ไม่มีก้านใบ ปลายมน โคนมน เบี้ยว หลังใบเกลี้ยง สีเขียวเข้ม
- ดอกคาง สีขาวมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกย่อยเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นมี 10-15 ช่อ กลีบเลี้ยงรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดถึงรูปปากแตรแคบมีขนปกคลุม ปลายแยกเป็น 5 แฉก
- ผลคาง ผลเป็นฝักแห้งแตกแบน สีน้ำตาลเข้มผิวเกลี้ยง เมล็ดนูนเรียงตามขวางหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, เปลือกต้น
สรรพคุณ คาง :
- ใบ รสเฝื่อน แก้ไอ
- ดอก รสหวาน บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ปวดบาดแผล แก้ฟกบวม แก้คุดทะราด แก้ตาอักเสบ แก้พิษงู แก้พิษต่างๆ แก้ลงท้อง รักษาคุดทะราด และรักษาอาการไข้ที่เกิดจากพิษอักเสบตา เป็นยาแก้ฝี
- เปลือก รสฝาดเฝื่อน แก้ลงท้อง แก้ตกเลือด แก้บวม แก้ฝี แก้แผลเน่าเปื่อย บวม รักษาลำไส้พิการ แผลโรคเรื้อน เป็นยาอายุวัฒนะและบำรุงหนังเส้นเอ็นให้บริบูรณ์ เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้ไอ ยาแก้โรคพยาธิ