ชื่อสมุนไพร : ค้อนหมาขาว
ชื่ออื่นๆ : พร้าวพันลำ (เชียงใหม่), หมากพู่ป่า (แพร่), ผักก้อนหมา (ลำปาง), ผักหวานดง คอนแคน (นครราชสีมา), ว่านสากเหล็ก (สุรินทร์), อีกริมป่า (ชลบุรี), ดอกแก รางดอย (ลั้วะ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena angustifolia Roxb.
ชื่อวงศ์ : ASPARAGACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นค้อนหมาขาว เป็นพรรณไม้พุ่ม มีความสูงได้ประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงเป็นต้นเดียวหรือแตกเป็นกอเล็กน้อย ลำต้นหนา เป็นรูปทรงกระบอก ต้นอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนสีเทา
- ใบค้อนหมาขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปดาบ มีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ผิวใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบเป็นเส้นใย
- ดอกค้อนหมาขาว ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ลักษณะห้อยลง ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
- ผลค้อนหมาขาว ผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปเกือบทรงกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก
สรรพคุณ ค้อนหมาขาว :
- รากต้มน้ำดื่มแก้ไอ ยาพื้นบ้านใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้เบาหวาน ทั้งต้นเหนือดิน สกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ยับยั้งการเกร็งตัวของลำใส้ในสัตว์ทดลอง
[su_quote]ยอดอ่อนหรือดอกอ่อนมีรสหวาน ใช้ลวก ต้ม รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงแค แกงผักรวมใส่ปลาย่าง หรือผัด[/su_quote]
[su_spoiler title=”แหล่งข้อมูลอ้างอิง :” style=”fancy” icon=”folder-2″]สมาคม ร.ร.แพทย์แผนโบราณ สำนักวัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์). ประมวลสรรพคุณยาไทย (ภาคหนึ่ง) ว่าด้วย พฤกษชาติ วัตถุธาตุ และสัตว์วัตถุนานาชนิด. ท่าเตียน พระนคร : อำพลพิทยา, 2507[/su_spoiler]