ชื่อสมุนไพร : ชงโค
ชื่ออื่น ๆ : ดอกตีนวัว, เสี้ยวหวาน, กะเฮอ, สะเปซี(แม่ฮ่องสอน), เสี้ยวดอกแดง(ภาคเหนือ), เสี้ยวเลื่อย(ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purple Orchid Tree, Butterfly Tree, Purple Bauhinia, Hong Kong Orchid Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia purpurea Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นชงโค เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างรูปทรงไม่แน่นอน
- ใบชงโค ลักษณะใบนั้นเป็นรูปใบมน ตรงปลายใบของมันจะโค้งเข้าหากัน และเป็นหยิกตรงกลาง จะคล้ายกับใบแฝด ขนาดของใบนั้นจะกว้างประมาณ 3 นิ้ว และยาวประมาณ 4.5 นิ้ว ใบเป็นใบสีเขียว
- ดอกชงโค ดอกจะออกเป็นช่อตามยอด หรือเป็นกิ่ง ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ลักษณะดอกนั้น คล้ายดอกกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 3 นิ้ว ดอกจะดกและมีดอกติดต้นอยู่ทนนานครั้งหนึ่งประมาณ 45 วัน ดอกนั้นจะออกเป็นระยะตลอดปี ถ้าดอกแก่จัดจะติดฝักใช้เพาะพันธุ์ได้
- เกสรชงโค เกสรตัวผู้นั้น จะเป็นเส้นงอนยาวยื่นออกมาตรงกลางดอก 5 เส้น และเกสรตัวเมียจะอยู่ กลางอีก 1 เส้น
- ฝักชงโค ลักษณะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว ขนาดกว้างราว 1.5 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร เมล็ดค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ราก, เปลือกต้น
สรรพคุณ ชงโค :
- ใบ ใช้ต้ม กินรักษาอาการไอ ใช้ฟอกฝี แผล
- ดอก ใช้ผสมกับอื่น ๆ เป็นเครื่องยา รักษาอาการไข้ หรือดับพิษไข้ หรือเป็นยาระบาย
- ราก ใช้ต้มกินน้ำเป็นยาขับลม หรือใช้โขลกผสมกับน้ำกินเป็นยารักษาอาการไข้
- เปลือกต้น แก้ท้องเสีย แก้บิด