ชะเอมไทย

ชะเอมไทย

ชื่อสมุนไพร : ชะเอมไทย
ชื่ออื่นๆ
: ชะเอม, กอกกั้น, ชะเอม, ส้มป่อยหวาน, อ้อยช้าง, เซเบี๊ยดกาชา(ตรัง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth.
ชื่อวงศ์ : MIMOSEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นชะเอมไทย เป็นไม้เถายืนต้นขนาดกลาง สูง 5-8 เมตร มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา
  • ใบชะเอมไทย เล็กละเอียดเป็นฝอย เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาว 10-15 เซนติเมตร เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปขอบขนาน มีขนที่ขอบใบ ผิวค่อนข้างเกลี้ยง เส้นใบ 3-5 คู่ แต่ไม่ชัดเจน ไม่มีก้านใบย่อย ก้านใบหลักยาว 1.5-2.7 ซม. มีขนหนาแน่น เหนือโคนก้านใบเล็กน้อยมีต่อม
  • ดอกชะเอมไทย ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกยาว 1.3-2.3 ซม. มีขนยาวกระจายทั่วไป ดอก 7-12 ดอก ดอกรวมเป็นกระจุกที่ปลายก้าน กลีบเลี้ยง หลอดกลีบกว้างไม่เกิน 1 มม. ยาว 1 มม. ปลายแฉกยาว ¼ ของความยาวหลอดกลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอกมีขนาดเล็ก เชื่อมกันเป็นหลอด หลอดกลีบกว้าง 1.0-1.5 มม. ยาว 2.5-3.0 มม. ปลายแฉกกว้าง 1 มม. ยาว 2.0-2.5 มม. สีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้ยาว สีขาว 10 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมกันสูง 2.5-3.0 มม. ปลายแยกกันยาว 1.3-1.6 ซม. สีขาว เกสรเพศเมีย รังไข่ยาว 2.0-2.5 มม. มี 9-10 ออวุล ก้านรังไข่ยาว 1 มม. ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาว 10.5-18.0 มม. สีขาว
  • ผลชะเอมไทย เป็นฝัก แบน ปลายแหลม กว้าง 2.3-2.5 ซม. ยาว 7.2-15.2 ซม. โคนและปลายแหลม มีเมล็ดนูนเห็นได้ชัด ประมาณ 3-10 เมล็ดต่อฝัก ก้านผลยาว 2.5 เซนติเมตร มีขนหนาแน่น ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลืองถึงน้ำตาล เมล็ดกว้าง 4-6 มม. ยาว 5-8 มม. ตรงบริเวณที่มีเมล็ดจะมีรอยนูนเห็นชัด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้, ใบ, ดอก, ราก, ต้น, ผล

สรรพคุณ ชะเอมไทย :

  • เนื้อไม้ มีรสหวาน แก้โรคในลำคอ แก้ลม แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงธาตุและบำรุงกำลัง บำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว
  • ต้น รสหวานเอียน ถ่ายลม แก้โรคในคอ ทำผิวหนังให้สดชื่น แก้โรคตา
  • ราก มีรสหวาน ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ และเป็นยาระบาย มีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้โลหิตอันเน่าในอุทร และเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น แก้กำเดาให้เป็นปกติ
  • ใบ รสร้อนเฝื่อน ขับโลหิตระดู
  • ดอก รสขมร้อน ช่วยย่อยอาหาร ทำเสมหะให้งวด แก้ดี และโลหิต
  • ผล ขับเสมหะ
Scroll to top