ชื่อสมุนไพร : ชำมะเลียงป่า
ชื่ออื่น : หมากหมาว้อ, ลำเนียงป่า (ภาคเหนือ), หมากว้อ, หมากหวอ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes senegalensis (Poir.) Leenh.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นชำมะเลียงป่า เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง
- ใบชำมะเลียงป่า เป็นประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 2 ใบ รูปใบหอกแกมขอบขนาน
- ดอกชำมะเลียงป่า เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งกลีบดอกสีม่วงแดง
- ผลชำมะเลียงป่า เป็นผลสด รูปค่อนข้างกลมเท่าลูกมะแว้ง เมื่อสุกสีม่วงดำ เป็นช่อคล้ายมะหวด เกิดตามป่าโปร่งทั่วไป ขยายพันธ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ผล
สรรพคุณ ชำมะเลียงป่า :
- ราก รสเมาเบื่อเย็น แก้ไข้เหนือ (มาลาเรียขึ้นสมอง) ไข้สันนิบาต ไข้กำเดา แก้ท้องผูกไม่ถ่าย แก้ร้อนในกระสับกระส่าย ผสมสมุนไพรชนิดอื่นต้มน้ำดื่ม แก้อาการกล้ามเนื้อเกร็ง
- ผล รสหวานเย็น บำรุงกำลัง