ชื่อสมุนไพร : ดองดึง
ชื่ออื่น ๆ : คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน(ชลบุรี), ก้ามปู, ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู(กลาง), พันมหา(นครราชสีมา), มะขาโก้ง(เหนือ) ดองดึงหัวขวาน, ด้ามขวาน, หัวฟาน
ชื่อสามัญ : Climing Lily, Turks cap, Superb Lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba Linn.
ชื่อวงศ์ : Colchicaceae (Liliaceae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นดองดึง เป็นไม้เถาล้มลุกขนาดเล็ก อายุหลายปี เลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน รูปร่างกลมเรียว มีหงอนเหมือนขวาน
- ใบดองดึง เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 5-15 เซนติเมตร ไร้ก้าน ปลายใบแหลมยืดยาวออกทำหน้าที่เป็นมือเกาะ โคนใบมน เส้นใบขนานกันไปสิ้นสุดที่ปลายใบ หลังใบและท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ
- ดอกดองดึง เป็นดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายเถา สีเหลืองปลายกลีบสีแดง โคนกลีบเมื่อบานใหม่ๆมีสีเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงทั้งดอก มีกลีบ 6 กลีบ สีเขียวอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวและแดง กลีบรูปแถบ เรียวยาว 5-7.5 เซนติเมตร โค้งกลับไปทางก้านดอก ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกศรเพศผู้มี 6 อัน ชี้ออกเป็นรัศมีตามแนวนอน ก้านยาว 3-5 เซนติเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.3-0.7 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก ก้านดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
- ผลดองดึง เป็นฝัก แห้งแตกได้ รูปกระสวย ปลายผลแหลม ขนาดกว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร ผิวเรียบ มักมีสันตื้นๆ มี 3 พู
- เมล็ดดองดึง มีรูปร่างกลมสีส้มแกมน้ำตาล จำนวนมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว, เหง้า, เมล็ด, ราก
สรรพคุณ ดองดึง :
- เหง้า และเมล็ดดองดึง แก้ปวดตามข้อ แก้โรคเรื้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ ฝนน้ำทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
- เหง้าดองดึง รสร้อนเมา แก้โรคเรื้อน คุดทะราด แก้โรคปวดข้อ (gout) แก้กามโรค แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ขับผายลม มีสารที่ใช้รักษาโรคมะเร็งได้
- หัวสดดองดึง ตำพอกหรือทา แก้ปวดข้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตำผสมทำยาประคบแก้ปวดข้อ (gout) แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แก้ข้ออักเสบฟกบวม
- หัวแห้งดองดึง ปรุงเป็นยารับประทาน รักษาโรคเรื้อน มะเร็งคุดทะราด โรคปวดข้อ แก้กามโรค ขับผายลม จะต้องใช้ในปริมาณน้อย ถ้าเกินขนาดอาจเกิดพิษได้
- รากดองดึง รสเมาร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ ทาแก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ ตำพอกหรือทา แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็งคุดทะราด แก้ปวดข้อ ต้มดื่ม แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ ต้องใช้ปริมาณน้อย และเจือจางถ้าเข้มข้นเกินไปอาจเกิดพิษถึงตายได้
[su_quote cite=”The Description”]เหง้าภายในเหง้าของดองดึงนี้มีสารอัลคลอลอยด์อยู่หลายชนิด โดยเฉพาะสารโคลคิ ซีน (colchicines) มีจำนวนสูงมาก ซึ่งมีฤทธิ์ในการบำบัดโรคปวดข้อหรือโรคเก๊าท์และต่อมาได้มีการค้นพบว่าเป็นสารที่เป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของเซลไซโตท๊อกซิค (cytotoxic) ซึ่งผลอันนี้เรานำมารักษาโรคมะเร็งได้ และยังนำมาใช้ให้พืชเปลี่ยนแปลงทางโครโมโซมทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ [/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]การที่ภายในเหง้านี้มีสารโคลคิซีน ซึ่งเป็นสารมีพิษหากใช้มากเกินไปจะทำให้เกิด โทษต่อร่างกายได้ ฉะนั้นในการใช้จะต้องระมัดระวัง [/su_quote]