ชื่อสมุนไพร : ดาดตะกั่ว
ชื่ออื่น : ฤาษีผสมแล้ว (ภาคกลาง), ฮ่อมครั่ง (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Red lvy, Red Flame lvy
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hemigraphis alternata (Burm.f.) Anderson.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นดาดตะกั่ว เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นเป็นสีแดงและเป็นข้อ ๆ และจะมีความสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร
- ใบดาดตะกั่ว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบบน ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียว แต่ถ้าถูกแดดจัด ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียว หรือเมื่อถูกแสงแดดจะเห็นเป็นประกายดูสวยงาม ส่วนท้องใบนั้นจะเป็นสีแดงหรือสีม่วงแดง
- ดอกดาดตะกั่ว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดตรงส่วนยอดของกิ่ง ในแต่ละช่อนั้นจะมีใบประดับเรียงซ้อน ๆ กันเป็นชั้น ๆ มีความยาวประมาณ 2.5-3.75 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาว ตัวดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวยหรือรูปถ้วยเล็ก ๆ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ส่วนปลายดอกแยกเป็นแฉก 5 แฉก ทรงดอกยาวได้ประมาณ 0.5 นิ้ว
- ฝัก-ผลดาดตะกั่ว เป็นพรรณไม้ที่มีผล แต่ตามที่ทราบมาในประเทศไทยยังไม่พบว่าติดผล โดยผลเป็นผลแห้งและแตกได้ มีขนาดประมาณ 1.25 เซนติเมตร สีขาว
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น, ใบ
สรรพคุณ ดาดตะกั่ว :
- ต้น ดื่มเป็นยาแก้ตกเลือด รักษาโรคผิวหนัง
- ใบ เป็นยาแก้บิด แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ
[su_quote cite=”The Description”]ในประเทศมาเลเซียนั้นใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ตกเลือดและยังใช้ทารักษาโรคผิวหนัง อีกด้วย
คนจีนก็นำมาทำเป็นยาเช่นกัน เนื่องจากในใบมีสาร Pltassium salt มาก จึงใช้เป็นยาแก้บิด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ ซึ่งประเทศที่ใช้ใบนี้เป็นประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย [/su_quote]