ดาหลา

ดาหลา

ชื่อสมุนไพร : ดาหลา
ชื่ออื่นๆ :
 กาหลา, กะลากะลา (นครศรีธรรมราช), กาหลา, ดาหลา, ดาหลาขาว (กรุงเทพฯ)
ชื่อสามัญ : Torch ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นดาหลา ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่นเช่นเดียวกับพืชจำพวกกล้วย ซึ่งส่วนนี้คือลำต้นเทียม กลมอวบน้ำ ขนาดผ่าศูนย์กลาง 3-6 ซม. สูง 5 ม.
  • ใบดาหลา เป็นใบเดี่ยว รูปขอบ ขนาน กว้าง 15-20 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. ผิวใบเกลี้ยง
  • ดอกดาหลา ออกเป็นช่อเดี่ยวที่ปลายก้าน มีสีชมพูถึงสีแดงเข้ม ซึ่งแทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน รูปพุ่มแกมกลม ก้านช่อดอกยาว 0.5-1.0 ม. กลีบประดับรอบนอกแผ่ ขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-12 ซม. กลีบประดับชั้นใน มีขนาดลดหลั่นกัน ยาว 1-5 ซม. แต่ละกลีบประดับมี 1 ดอก และมีกลีบประดับย่อยรูปหลอด ยาวประมาณ 2 ซม. เกสรเพศผู้เป็นหมันสีเลือดหมูเข้ม ขอบขาวหรือเหลือง เกสรเพศผู้สมบูรณ์มี 1 อัน อับเรณูสีแดง
  • ผลดาหลา รูปกลม มีขนนุ่มขนาด ผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. เมล็ดมีขนาดเล็ก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น, หน่ออ่อน, ดอก, เหง้า

สรรพคุณ ดาหลา : 

  • เหง้า  มีรสเผ็ดร้อนเฝื่อน ต้มรับประทานเเละอาบ แก้โรคประดง ผื่นคันตามผิวหนัง
  • ต้น, หน่ออ่อน, ดอก  มีรสเผ็ดร้อนซ่า แก้เสมหะในคอ แก้ลมแน่นหน้าอก (อุระเสมหะ) บำรุงเตโชธาตุให้สมบูรณ์ แก้เลือดออกตามไรฟัน
Scroll to top