ชื่อสมุนไพร : ตะไคร้
ชื่ออื่นๆ : จะไคร้(ภาคเหนือ), ไคร(ภาคใต้), คาหอม(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ห่อวอตะไป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หัวสิงโต(เขมร-ปราจีนบุรี), ตะไคร้แกง(ทั่วไป)
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
ชื่อวงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นตะไคร้ เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้องมักมีไขปกคลุมอยู่ เป็นพรรณไม้ที่มีอายุหลายปี
- ใบตะไคร้ ใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียวกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-3 ฟุต
- ดอกตะไคร้ ออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น ราก ใบ ต้น
สรรพคุณ ตะไคร้ :
- ทั้งต้น รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ แก้โรคทาง เดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
- ราก แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา
- ใบสด ช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
- ต้น เป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน