ชื่อสมุนไพร : ตานดำ
ชื่ออื่น : ดำดง (ประจวบคีรีขันธ์), ตานส้าน (ภาคกลาง), ถ่านไฟผี (ภาคเหนือ), มะเกลือป่า (นครสวรรค์, ปราจีนบุรี), มะตูมดำ (สระบุรี), อิน (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros montana Roxb.
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นตานดำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15 เมตร
- ใบตานดำ ใบรูปรี รูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ยาว 2–12 ซม. แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 3–7 เส้น ก้านใบยาว 0.2–1 ซม.
- ดอกตานดำ ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 1–2 มม. มี 4 กลีบ แฉกลึกเกือบจรดโคน มีขนประปรายทั้งสองด้าน ดอกรูปคนโท ยาว 0.8–1 ซม. มี 4 กลีบ แฉกลึกเกินกึ่งหนึ่ง เกสรเพศผู้มี 14–20 อัน รังไข่ที่ไม่เจริญมีขนยาว ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ ก้านดอกยาวประมาณ 5 มม. รังไข่มี 8 ช่อง เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย 4 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 4–12 อัน
- ผลตานดำ ผสด รูปทรงกลมแป้นสีเหลืองแกมเขียว กลีบเลี้ยงบานออกหรือพับงอกลับมีอยู่ 4 กลีบ ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–3 ซม. ก้านผลยาว 5–7 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้และราก, แก่น, เปลือกต้น
สรรพคุณ ตานดำ :
- เนื้อไม้และราก รสเมาเบื่อเย็น ขับพยาธิไส้เดือน ตัวตืด แก้พิษตานซาง แก้ผอมแห้ง
- แก่น แก้ไตพิการ ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้ผอมแห้ง บำรุงร่างกาย
- เปลือกต้น ลดไข้ แก้อักเสบ
[su_quote cite=”The Description”]ผลตานดำ มีฤทธิ์เป็นพิษ ชาวบ้านบางท้องถิ่นมักใช้ตำรวมกับใบสำหรับใช้เบื่อปลา[/su_quote]