ตำลึง

ชื่อสมุนไพร : ตำลึง
ชื่ออื่น ๆ
 : ผักแคบ(ภาคเหนือ), แคเด๊าะ(กระเหรี่ยงและแม่ฮองสอน), ตำลึง,สี่บาท(ภาคกลาง), ผักตำนิน(ภาคอีสาน)
ชื่อสามัญ : Ivy Gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt)
ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงจะใหญ่และแข็ง เถาตำลึงจะมีลักษณะกลม สีเขียว ตามข้อมีตำลึงจัดเป็นเอาไว้ยึดเกาะ
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ใบตำลึงตัวผู้หยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง ดอกสีขาวปลายกลีบห้าแฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง เป็นไม้ที่ไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกเพศผู้และเมียจะอยู่คนละต้นกัน ซึ่งสังเกตได้จากใบ ถ้าใบจักมากก็เป็นเพศผู้ แต่ดอกสีขาวทรงกระบอกหัวแฉกเหมือนกัน
  • ผลตำลึง ผลตำลึงมีรูปทรงป้อม ขอบขนาน ขนาดผลกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ถ้าผลตำลึงอ่อนจะมีสีเขียว ผลตำลึงแก่จะมีสีส้มออกแดง ข้างในผลตำลึงจะมีเมล็ดลักษณะแบนรี ขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จำนวนมาก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, เถา, ทั้งต้น

สรรพคุณ ตำลึง :

  • ใบ  ถ้านำใบสดมาจะถอนพิษหมามุ้ย แก้เจ็บตา ตาฝ้า ตาแดง ตาแฉะ ใช้เป็นยาเย็นดับพิษร้อนก็ได้
  • ราก ของตำลึงนี้มีรสเย็น ทำเป็นยารักษาแก้ดวงตาที่ขึ้นเป็นฝ้า และดับพิษต่าง ๆ
  • เถา น้ำที่คั้นได้จากเถาเรานำมาเป็นยารักษาโรคตาเจ็บได้ หรือตาแดงก็ได้
  • ทั้งต้น (เถา ราก ใบ) นำมาเป็นยาใช้รักษาแก้โรคผิวหนัง โรคเบาหวาน แก้หลอดลมอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือด

[su_quote cite=”The Description”]ภายในใบตำลึง เมื่อนำมาคั้นน้ำจะประกอบด้วยน้ำย่อยอะมีเลส (Amylase) ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยแป้งได้[/su_quote]

ชาวไทยแบ่งตำลึงออกเป็นสองชนิด คือ ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย โดยใช้ลักษณะของใบเป็นหลัก กล่าวคือชนิดที่มีใบเป็นหยักเว้าเข้าไปถึงโคนใบเรียกว่าตำลึงตัวผู้ ส่วนชนิดที่มีใบกว้างเต็มหรือเว้าเล็กน้อยเรียกว่าตำลึงตัวเมีย

ตำลึงตัวผู้ ตำลึงตัวเมีย

Scroll to top