ชื่อสมุนไพร : ตีนตะขาบ
ชื่ออื่น ๆ : แสยกใบหยิก, แสยกตีนตะขาบ, ว่านตะเข็บ(ภาคเหนือ), ว่านตะขาบ(เชียงใหม่), เพว(กรุงเทพฯ), ตะขาบปีนกล้วย, ต้นตีนตะขาบ(ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pedilanthus tithymaloides v. nanus.
ชื่อวงศ์ : Polygonaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นตีนตะขาบ เป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ
- ใบตีนตะขาบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีถึงรูปไข่ สีเขียเข้ม จะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ
- ดอกตีนตะขาบ ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน
- ผลตีนตะขาบ เป็นผลสด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, น้ำยาง
สรรพคุณ ตีนตะขาบ :
- ใบ ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ฟกช้ำ รักษาหูเป็นน้ำหนวก
- น้ำยางจากต้น บรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการบวม
[su_quote cite=”The Description”]ต้นและใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าใช้หยอดหู เพื่อรักษาหูเป็นน้ำหนวก ซึ่งพบว่าได้ผลดีมาก ใช้เพียง 2-3 ครั้งจะแห้งหาย[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]ต้นและใบสดนำมาตำผสมกับเหล้า เอาแต่น้ำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอกได้ดี ส่วนกากที่เหลือจากการนำไปใช้แก้ฟกช้ำบวมสามารถนำมาพอกถอนพิษตะขาบและพิษแมงป่องได้[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]น้ำยางของต้นมาทาบริเวณบาดแผลที่ถูกกัด เมื่อรู้สึกว่ายางเริ่มแห้ง ก็ให้ทาซ้ำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 30 นาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการบวมได้ ส่วนอีกวิธีให้ใช้ต้นและใบสดประมาณ 1 ขีด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว 100 ซีซี แล้วนำส่วนผสมที่ได้มาพอกบริเวณบาดแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที[/su_quote]