ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง

ชื่อสมุนไพร : ต้อยติ่ง
ชื่ออื่น ๆ
: ต้อยติ่งฝรั่ง ,ต้อยติ่งเทศ, ต้อยติ่งน้ำ ,ต้นอังกาบ ,อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ruellia tuberosa Linn.
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นต้อยติ่ง เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่โคนต้น ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มเตี้ยๆ ลำต้น และกิ่งมีขนาดเล็ก เปลือกลำต้น และกิ่งมีสีเขียว และมีขนอ่อนปกคลุม
  • ใบต้อยติ่ง ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นคู่ ๆตรงข้ามกันตามลำต้น และกิ่ง ใบมีรูปไข่ มีสีเขียวสด กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตรโคนใบสอบแคบ ปลายใบค่อนข้างมน แผ่นใบ และขอบใบเป็นลูกคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกต้อยติ่ง ออกเป็นช่อหรือเป็นดอกเดี่ยว ๆ บริเวณซอกใบตามปลายยอด แต่ละช่อมีดอกเดียวหรือ 2-3 ดอก/ช่อ ดอกมีก้านดอกยาว 3-4 เซนติเมตร ตัวดอกมีขนาดประมาณ 4-5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบมีลักษณะมน ขนาดกลีบดอกประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นกรวย หน้าตัวดอกเป็นรูปปากแตร ถัดมากลางดอกจะมีเกสรตัวผู้ 4 อัน แยกกันเป็น 2 คู่ แต่ละคู่ยาวไม่เท่ากัน ส่วนเกสรตัวเมียจะยาวกว่าเกสรตัวผู้ทั้ง 2 คู่ ส่วนรังไข่จะมี ovule 24 อัน
  • ผลต้อยติ่ง ผลต้อยติ่ง เรียกว่า ฝัก ที่มีลักษณะทรงกระบอก และเรียวยาว ปลายทั้งสองด้านแหลม ขนาดฝักประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีเปลือกฝักสีเขียว แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และสีดำเมื่อแก่เต็มที่ ฝักแก่มีเปลือกฝักสีดำ มีร่องฝักแบ่งออกเป็น 2 ซีก ด้านในมีเมล็ด 8-15 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ ราก เมล็ด

สรรพคุณ ต้อยติ่ง :

  • ราก นำมาเป็นส่วนผสมของยาใช้ดับพิษ ปัสสาวะพิการ และแก้พิษต่าง ๆ
  • เมล็ด ใช้ดูดหนอง ใช้พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล แผลมีฝ้ามีหนอง และช่วยเรียกเนื้อ
  • ใบ ใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
Scroll to top