นางแย้ม

ชื่อสมุนไพร : นางแย้ม
ชื่ออื่น ๆ
: โช่วมู่ลี(จีนกลาง), เช่าหมกหลี(แต้จิ๋ว), ส้วนใหญ่(นครราชสีมา), ปิ้งสมุทร(เชียงใหม่), ปิ้งช้อน, ปิ้งชะมด(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
วงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นนางแย้ม เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง ต้นนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่เล็กน้อย ลำต้นสูง ประมาณ 1-2 เมตร
  • ใบนางแย้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์ หรือรูปไข่กว้างคล้ายรูปหัวใจ ใบกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-17 เซนติเมตร ผิวใบมีขนละเอียดปกคุลมอยู่ทั้งสองด้าน ผิวใบสากระคายมือ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบเป็นฟันเลื่อยห่างๆ เมื่อเด็ดใบแล้วนำมาขยี้จะมีกลิ่นเฉพาะ
  • ดอกนางแย้ม ออกดอกเป็นช่อตามยอดและปลายกิ่ง ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ หนึ่งช่อดอกจะนางแย้มกว้างประมาณ 10-12 เซนติเมตร ดอกย่อยมีลักษณะคล้ายดอกมะลิซ้อน คือมีดอกเป็นพวงเล็กๆ หลายๆ ดอกเรียงรายซ้อนกันอยู่ แต่ละดอกเมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีขาว เมื่อบานแล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนสีเป็นสีชมพู สีม่วงแดงสลับขาว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบเลี้ยงมีสีม่วงแดง ดอกย่อยจะบานไม่พร้อมกัน ดอกด้านบนจะบานก่อนดอกด้านล่าง แต่ถ้าบานจะบานอยู่นานหลายวัน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 ด้าน ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 4 ก้าน ดอกนางแย้มมีกลิ่นหอมมากทั้งในเวลาวันและกลางคืน และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
  • ผลนางแย้ม มีเนื้ออ่อนและมีเปลือกหุ้ม แยกออกเป็น 4 กลีบ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, ราก

สรรพคุณ นางแย้ม :

  • ใบ  แก้โรคผิวหนัง และผื่นคัน ทั้งต้น แก้พิษ เพื่อฝีกาฬภายใน
  • ราก  ขับระดู ขับปัสสาวะ แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ แก้ไข้ แก้ฝีภายใน แก้ริดสีดวง ดากโผล่ แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : เหน็บชา ปวดขา” icon=”arrow”]
เหน็บชา ปวดขา ใช้ราก 15-30 กรัม ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ปวดเอวปวดข้อ เหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ” icon=”arrow”]
ปวดเอวปวดข้อ เหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ ใช้รากแห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ขับระดูขาว ลดความดันโลหิตสูง แห้หลอดลมอักเสบ” icon=”arrow”]
ขับระดูขาว ลดความดันโลหิตสูง แห้หลอดลมอักเสบ ใช้ราก และใบแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ริดสีดวงทวาร ดากโผล่” icon=”arrow”]
ริดสีดวงทวาร ดากโผล่ ใช้รากแห้งจำนวนพอควร ต้มน้ำ แล้วนั่งแช่ในน้ำนั้นชั่วครู่[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : โรคผิวหนัง ผื่นคัน เริม” icon=”arrow”]
โรคผิวหนัง ผื่นคัน เริม ใช้ใบสด จำนวนพอควร ต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น[/su_spoiler]
[su_quote]สารเคมีที่พบ : มี Flavonoid glycoside, phenol, saponin และ Tannin[/su_quote]

Scroll to top