นางแย้มป่า

ชื่อสมุนไพร : นางแย้มป่า
ชื่ออื่นๆ :
 ปิ้งเห็บ(เชียงใหม่), ปิ้งพีแดง, ฮอนห้อแดง(เลย), ต่างไก่แดง(ขอนแก่น), ขัมพี(พิษณุโลก), กุ๋มคือ, ซมซี(สุโขทัย), ขี้ขม(ภาคใต้),  ปิ้งขม, ปิ้งหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum viscosum Vent.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นนางแย้มป่า เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง กิ่งอ่อนและต้นเปราะ เป็นสันสีเหลี่ยม ตามลำต้นและกิ่งอ่อนเป็นสีแดงหรือสีดำอมน้ำตาล
  • ใบนางแย้มป่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อเป็นคู่ ตั้งฉากกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปหัวใจ ปลายใบสอบแหลม โคนใบสอบหรือเว้า ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่ฟันตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-25 เซนติเมตร แผ่นใบแข็งเป็นสีเขียวเข้ม มีขนสากระคายมือ มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร
  • ดอกนางแย้มป่า ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาว ดอกจะรวมกลุ่มกันเป็นช่อแน่น ช่อดอกนางแย้มป่ายาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ช่อดอกมีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ส่วนกลีบดอกเป็นสีขาว โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลางดอกเป็นสีชมพูม่วงหรือสีม่วงเข้ม มีขน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 4-5 อัน ลักษณะเป็นเส้นยาวออกมาให้เห็นชัดเจน ดอกจะมีกลิ่นหอมในตอนเช้า
  • ผลนางแย้มป่า ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผิวผลมัน เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือดำ ผลมีกลีบเลี้ยงสีแดงหุ้มอยู่ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก

สรรพคุณ นางแย้มป่า :

  • ราก เป็นยาแก้ไข้ รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ไตพิการ (โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่นข้น ปัสสาวะเหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง รับประทานอาหารไม่ได้ร่วมด้วย) ต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ฝนกับน้ำกิน เป็นยาบำรุงน้ำนมของสตรี
Scroll to top