ชื่อสมุนไพร : น้ำเต้าต้น
ชื่ออื่น ๆ : น้ำเต้าญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crescentia cujete Linn.
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- น้ำเต้าต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 2-10 เมตร กิ่งก้านแผ่ตามแนวราบ รูปทรงของกิ่งมีลีลาอ่อนช้อยสวยงามและรูปทรงไม่ค่อยแน่นอน
- ใบน้ำเต้าต้น เป็นใบเดี่ยวสีเขียวสดรูปช้อนเรียงสลับ ปลายใบแหลมเล็กน้อย ส่วนโคนใบสอบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่มีก้าน และยังมีใบประดับขนาดเล็กรูปร่างคล้ายใบออกที่โคนใบจำนวน 2 ใบ อยู่ตามข้อกิ่ง โดยใบประดับทั้งสองจะมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร
- ดอกน้ำเต้าต้น เป็นดอกเดี่ยวห้อยลง ลักษณะเป็นรูปปากแตรบานเล็กน้อย ดอกเป็นสีเขียวอมเหลืองและมีลายสีม่วง กลีบของดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ที่ปลายดอกแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ ดอกมีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 ก้าน ขนาดสั้น 2 ก้านและยาวอีก 2 ก้าน และดอกมีกลิ่นเหม็นหืน
- ผลน้ำเต้าต้น เป็นรูปทรงกลมโต มีขนาดตั้งแต่ 15-50 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นสีเขียวอ่อน เกลี้ยง และแข็ง ภายในผลมีเนื้อเป็นปุยสีขาวและเมล็ดสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีลักษณะแบน ๆ ปลายเว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจ ขอบเว้า และมีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, ผล, เนื้อในผล, ใบ
สรรพคุณ น้ำเต้าต้น :
- เปลือกต้น นำเปลือกมาต้มกับน้ำ ให้ทานเฉพาะน้ำแก้ท้องเดินและใช้ล้างแผล
- ผล นี้คือผลดิบ ๆ นำมาทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่ถ้าทานมากเกินไปจะทำให้ท้องเสียได้
- เนื้อในผล นำมาทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้บิด ยาระบาย แก้ไข้ พอกแก้ปวดศีรษะ แต่จะเป็นพิษต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเล็ก ๆ และนกต่าง ๆ
- ใบ นำใบสดมาตำหรือบดก็ได้ให้ละเอียด แล้วนำมาพอกแก้ปวดศีรษะ