บอน

ชื่อสมุนไพร : บอน
ชื่ออื่นๆ :
เผือก, กลาดีกุบุเฮง, กลาดีไอย์, ขื่อที้พ้อ, คึทีโบ, คูชี้บ้อง, คูไทย, ทีพอ, ตุน, บอนเขียว, บอนจีนดำ, บอนท่า, บอนน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colocasia esculenta (L.) Schoot
ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นบอน เป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายเผือกต้นเรียงรายตามที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่

 

 

 

  • ใบบอน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนแผ่ออกรอบต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปบอนหัวใจหรือรูปโล่ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-35 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ก้านใบออกที่ตรงกลางแผ่นใบ โคนใบแยกเป็นแฉกสองแฉก ด้านหน้าใบเป็นสีเขียว เรียบไม่เปียกน้ำเพราะผิวใบเคลือบไปด้วยไข (Wax) ส่วนด้านหลังใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือม่วงหรือเป็นสีขาวนวล มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ในแต่ละกอจะมีประมาณ 7-9 ใบ ก้านใบยาวออกจากต้นใต้ดิน ก้านใบยึดกับด้านล่างของใบ ก้านใบเป็นสีเขียวแกมสีม่วงหรือสีเขียวแกมเหลือง ก้านใบยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร
  • ดอกบอน ออกดอกเป็นช่อเป็นแท่งเดี่ยว ๆ ออกจากลำต้นใต้ดิน มีกาบสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองนวลหุ้มอยู่ ยาวประมาณ 26 เซนติเมตร ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ฉ่ำน้ำ ดอกเป็นกระเปาะสีเขียวเป็นแท่งอยู่ตรงกลาง มีกลิ่นหอมและต่อมาจะกลายเป็นผลเล็ก ๆ จำนวนมากที่ประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบหัวใหญ่
  • ผลบอน ผลเป็นผลสดสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดน้อย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ไหล, ราก

สรรพคุณ บอน :

  • ไหล นำมาตำรวมกับเหง้าขมิ้นอ้อย ขี้วัว กะปิ เเละเหล้าโรงเล็กน้อย ใช้พอกฝีตะมอย
  • ราก นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย เจ็บคอ
Scroll to top