บัวหลวง

ชื่อสมุนไพร :       บัวหลวง
ชื่ออื่น ๆ
:             บัวหลวงแดง, บัวหลวงขาว
ชื่อสามัญ :           Sacred Lotus, Egyptian Lotus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.(Nelumbru speciosum Willd.)
ชื่อวงศ์ :               NYMPHAEACEAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  

  • บัวหลวง เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่
    บัวหลวง
  • ใบบัวหลวง ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ
  • ดอกบัวหลวง ดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล
    บัวหลวง
  • ผลบัวหลวง รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า “ฝักบัว” มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

ส่วนที่ใช้เป็นยา  :  เหง้า, ดอก, เกสร, ฝัก, เปลือกเมล็ด, เมล็ด, ดีบัว, ใบอ่อน, ใบแก่

สรรพคุณ บัวหลวง :

  • เหง้า รสหวานมันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้ไข้เพื่อดี แก้อาเจียน แก้ไข้ตัวร้อน
  • ดอก  รสฝาดหอม บำรุงครรภ์  แก้ไข้  ทำให้เกิดลมแบ่งคลอดบุตรได้ง่าย
  • เกสร  รสฝาดหอม แก้ไข้  รากสาด  หรือไข้ท้องเสีย  ชูกำลังทำให้ชื่นใจ  บำรุงครรภ์ รักษา
  • ฝัก  รสฝาด แก้ท้องเสีย  แก้พิษเห็ดเมา  ขับรกให้ออกเร็วเวลาคลอดบุตร
  • เปลือกเมล็ด  รสฝาด แก้ท้องร่วง  สมานแผล
  • เมล็ด  รสหวานมัน บำรุงกำลัง  บำรุงไขข้อ  ทำให้กระชุ่มกระชวย
  • ดีบัว  รสขม ขยายหลอดเลือดในหัวใจ  แก้กกระหายหลังจากอาเจียนเป็นโลหิต แก้น้ำกามเคลื่อนขณะหลับ
  • ใบอ่อน  มีวิตามินซี  รสฝาดเปรี้ยว บำรุงร่างกายให้ชุ่มชื่น
  • ใบแก่  รสฝาดเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ไขบำรุงเลือด

นอกจากจะใช้ทำเป็นยาแล้ว ยังใช้เหง้าและเมล็ด เป็นอาหารได้ ส่วนเมล็ดนั้นจะมี embryo ซึ่งเป็นสีเขียว บ้านเราเรียกกันว่า ดีบัว ซึ่งจะมีรสขมจัด ดีบัวจะมีสารประกอบด้วยอัลกาลอยด์หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของหัวใจ (Coronary artery)


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : 

  1. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. 2544. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิง จำกัด (มหาชน) : กรุงเทพมหานคร.
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงส์. 2547. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5 คณาเภสัช. อมรินทร์ : กรุงเทพมหานคร.
  3.  วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร. โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพมหานคร.
  4. นิจศิริ เรื่องรังสี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. 2547. สมุนไพรไทยเล่ม 1. ฐานการพิมพ์ : จำกัดกรุงเทพมหานคร
  5. ถนอมศรี วงศ์รัตนาสถิต. 2538. เอกลักษณ์สมุนไพร. โรงพิมพ์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : กรุงเทพมหานคร
Scroll to top