ผักปอด

ชื่อสมุนไพร : ผักปอด
ชื่ออื่นๆ :
ผักกุ่มป่า, ผักปุ่มป่า, ผักปุ่มปลา, ผักปอดนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sphenoclea zeylanica Gaertn.
ชื่อวงศ์ : SPHENOCLEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ผักปอด เป็นไม่้ล้มลุกขึ้นในน้ำ อายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรงอวบน้ำ  สูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร แตกกิ่งผักปอดแขนงจำนวนมาก ภายในมีช่องอากาศอยู่โดยรอบ มีนมสีขาวๆ คล้ายฟองน้ำ หุ้มรอบโคนต้นตรงส่วนที่แช่นํ้า

 

 

  • ใบผักปอด เป็นใบเดี่ยว ออกสลับข้างกัน ก้านใบสั้น ยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ใบยาวเรียว ยาวประมาณ 2.5 – 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร โคนใบแคบ ปลายใบทู่ บางครั้งแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกผักปอด ออกเป็นช่อ รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 0.75-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็ก และไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันที่ฐาน ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ที่ขอบมีสีขาว กลีบดอกติดกันเป็นรูปถ้วย สีขาว ตรงปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านสั้นมาก ติดอยู่กับกลีบดอก อับละอองเรณู 2 เซล แตก ตามยาว เกสรตัวเมียมีรังไข่เชื่อมกับฐานดอกครึ่งหนึ่ง รังไข่แบ่งออกเป็น 2 ช่อง มีท่อรังไข่สั้นๆ 1 อัน
  • ผลผักปอด กลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมื่อแก่จะแตกออกโดยรอบเป็นผักปอดวงกลม คล้ายกับเปิดฝาภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเล็ก สีเหลืองใส ผิวขรุขระ

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ต้น, ราก

สรรพคุณ ผักปอด :

  • ใบ รสเฝื่อเล็กน้อย แก้ลมให้ตก ขับเสมหะ ขับเหงื่อในคนเป็นโรคท้องมาน
  • ดอก แก้ไข้อันกระทำให้หนาว แก้ริดสีดวงอันเป็นเพื่อโลหิต
  • ต้น  รสขื่น แก้โลหิตพิการ แก้ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง แก้ไข้สตรีในเรือนไฟ
  • ราก รสขื่น แก้โลหิตพิการ ขับลมและโลหิตให้กระจาย แก้ไข้จับอันกระทำให้ร้อน
Scroll to top