ผักแว่น

ชื่อสมุนไพร : ผักแว่น
ชื่ออื่นๆ :
ผักลิ้นปี่ (ภาคใต้) , ผักแวน , ผักแว่น (ภาคอีสาน) , หนูเต๊าะ (กะเหรี่ยง) , Chuntul phnom (กัมพูชา) , tapahitik (มาเลเซีย)
ชื่อสามัญ : Water clover, Pepperwort, Water fern
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Marsilea crenata Presl
ชื่อวงศ์ : MARSILEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักแว่น เป็นพืชในกลุ่มของเฟินน้ำ จัดเป็นไม้น้ำล้มลุก มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ ซึ่งสามารถแตกเถาย่อยหรือเถาแขนงได้ แต่ละเถามีลักษณะกลม เรียงยาว สีขาว หรือ สีเหลืองอมขาว และเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเถามีลักษณะเป็นข้อปล้องชัดเจน และฉ่ำน้ำ ขนาดเถาประมาณ 2-4 มิลลิเมตร และมีความยาวของเถาได้กว่า 20-40 เซนติเมตร
  • ใบผักแว่น  เป็นใบประกอบมีใบย่อย 4 ใบ รูปร่างของใบย่อยมีลักษณะคล้าย รูปสามเหลี่ยมออกจากผักแว่นบริเวณตรงกลางตำแหน่งเดียวกัน ดูจากลักษณะใบทั้งหมด รวมกันจะคล้ายกับวงกลม ใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาว มีสปร์โรคาร์ปเป็นเม็ดสีดำ แข็ง คล้ายเมล็ดถั่วเขียว ออกที่โคนก้านใบขณะที่อ่อนอยู่จะเป็นสีเขียวพอแก่แล้ว จะเป็นสีน้ำตาลเข้มและค่อยๆดำตามลำดับไป

 

  • ดอกผักแว่น ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นหลายดอกแทงออกบริเวณซอกใบหรือข้อปล้อง ก้านดอกขนาดเล็กสีเขียว มีขนปกคลุมเล็กน้อย ยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ตัวดอกมีใบประดับขนาดเล็กรูปหอกสีเขียว ขนาด 2-4 × 1 มิลลิเมตร กลีบดอกลักษณะรูปไข่กลับแกมขอบขนานมีจำนวน 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน แผ่นกลีบดอกมีสีเหลืองสด ขนาดกลีบดอกกว้าง 3-8 มิลลิเมตร ยาว 7-10 มิลลิเมตร โดยจำนวนดอกต่อต้นจะพบจำนวนน้อย ประมาณ 2-3 ดอกเท่านั้น
  • ผลผักแว่น ลักษณะยาวรี ขั้วผลและปลายผลแหลมเปลือกผลสาก ผลขนาดยาวประมาณ 1 ซม. ผลแบ่งเป็น ผักแว่น2 พู ภายในประกอบด้วยเมล็ดจำนวนมาก

 

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ ผักแว่น :

  • ทั้งต้น ช่วยรักษาแผลในช่องปาก โรคตาอักเสบ โรคต้อกระจก ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ดีพิการ บรรเทาอาการปวดศีรษะ รักษาโรคเก๊า
Scroll to top