ผักโขมหัด

ชื่อสมุนไพร : ผักโขมหัด
ชื่ออื่น ๆ
: ผักโขม, ผักขม(ภาคกลาง), ผักหม(ภาคใต้), ผักขมหัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus viridis Linn.
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักโขมหัด เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุสั้นฤดูเดียว แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้นลักษณะของลำต้นเป็นเหลี่ยมมน และเกลี้ยง แต่จะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่บ้างเล็กน้อย ลำต้นสูงประมาณ 0.5-2 ฟุตมีสีเขียว
  • ใบผักโขมหัด เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือคล้ายกับรูปสี่เหลี่ยมผักโขมหัดขนมเปียกปูน ปลายใบจะมนหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนโคนนั้นจะแหลมและกว้างกว่าปลายใบตามเส้นใบจะมีขนขึ้นอยู่ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาว 1.5-3.5 นิ้วมีสีเขียว มีก้านใบยาว 1-2.5 นิ้ว

 

 

  • ดอกผักโขมหัด ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกเพศผู้และเมียจะอยู่กันคนละดอก แต่ก็อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมี 3-4 กลีบซึ่งหนึ่งดอกจะเรียงกันเป็นแถวประมาณ 20-30 ดอกมีสีเขียว
  • ผลผักโขมหัด มีลักษณะทรงรีเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล ผลแก่แตกออกได้ข้างในมีเมล็ดอยู่ เมล็ด อยู่ในผลแก่แตกออกได้ มีลักษณะทรงกลมเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, ราก

สรรพคุณ ผักโขมหัด :

  • ใบ นำใบมาปรุงเป็นยาแก้คันตามผิวหนัง แก้พิษแมลงป่องต่อย ทำให้ผิวหนังนุ่ม
  • ทั้งต้น จะใช้แก้พิษงูกัด
  • ราก  ปรุงเป็นยาถอนพิษร้อนภายใน แก้ร้อนใน แก้ไข้ แก้หวัด ช่วยระงับความร้อน ช่วยรักษาผื่นคัน ช่วยระบบขับถ่าย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ แก้บิด ช่วยขับสารพิษ ช่วยรักษาแผลอักเสบ แก้บวม แก้แน่นท้อง แก้จุกเสียด มีอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยรักษากลากเกลื้อน และต้มอาบน้ำแก้อาการคันตามผิวหนัง

ผักโขมหัดเป็นพืชที่สามารถ เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายจะเจริญเติบโตได้ดี มีวิธีการปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ แบบหว่านแมล็ดโดยตรง หรือแบบโรยเมล็ดเป็นแถว ลงในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ ให้มีระยะห่างระหว่างต้นพอประมาณ

Scroll to top