ชื่อสมุนไพร : พญากาสัก
ชื่ออื่นๆ : เขืองหูช้าง, เขืองหูม้า, ตองต้วบ, แคะมูรา, ทุโครพะดุ, ทุคลุพะโด่ะ, จากผักชี, ตองสาก, ตาลปัตรฤาษี, พญารากหล่อ, ผึ่งหูช้าง, เสือนั่งร่ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leea macrophylla Roxb.ex Hornem.
ชื่อวงศ์ : LEEACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- พญากาสัก เป็นไม้พุ่มสูง 2-4 เมตร ลำต้นสีเขียวมีข้อชัดเจน ลำต้นเป็นปล้องเหมือนไม้สัก หัวเหมือนมันสัมปะหลัง รากเป็นฝอยใหญ่ ๆ
- ใบพญากาสัก เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 25-30 ซม. ยาว 30-50 ซม. ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย มีหูใบแผ่เป็นแผ่นเห็นได้ชัดเจน
- ดอกพญากาสัก สีขาวแกมเขียวอ่อน ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายยอด ลักษณะเป็นชั้นๆ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
- ผลพญากาสัก เป็นผลสด รูปร่างค่อนข้างกลมแป้น เมื่อแก่สีดำ ขนาด 1-3 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก
สรรพคุณ พญากาสัก :
- ราก ผสมสมุนไพรชนิดอื่น รักษากามโรค แผลฝี หนองใน
คนโบราณจะใช้ใบว่านกาสักรองรับเด็ก(ผู้ชาย)แรกเกิด และใช้ใบนั้นปูรองให้เด็กนอนตลอดจนกว่าจะโตเริ่มทานอาหารได้ จึงนำใบนั้นมาป่นให้ละเอียดผสมอาหารให้เด็กกินจนหมด ว่ากันว่าเด็กคนนั้นจะเกิดเป็นคงกระพัน(หนังเหนียว)
วิธีปลูก พญากาสัก
การปลูกจะใช้เมล็ดเพาะก็ได้ หรือจะขุดมาจากป่า แล้วนำหัวมาฝังดินเอาไว้ ต้นจะขึ้นต่อเมื่อเดือนห้า หน้าฝน เมื่อฝนตก ฟ้าร้องจึงจะขึ้น ถ้าขุดหัวมาจากป่าให้ตัดต้นทิ้งปลูกแต่หัวจะแตกต้นภายหลัง ขึ้นได้ดีในดินปนทราย หรือดินร่วนๆ โดยอาดินกลบหัวว่านพอมิด