ชื่อสมุนไพร : พญาไร้ใบ
ชื่ออื่นๆ : พญาร้อยใบ, เกี๊ยะเจียน, เคียะจีน (เชียงใหม่), เคียะเทียน (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia tirucalli Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ดอกพญาไร้ใบ ออกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีเขียว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ไม่มีกลีบดอก และอยู่ในช่อเดียวกัน มีแต่กลีบรองดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ
- ผลพญาไร้ใบ ผลเป็นผลแห้งจะแตกและอ้าออก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, ต้น, ยาง
สรรพคุณ พญาไร้ใบ :
- ใบและราก รสเฝื่อน ตำพอกแก้ริดสีดวงทวาร
- ต้น รสเฝื่อน ต้มดื่มแก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ตำพอกแก้กระดูกเดาะ แก้ปวดบวม
- ราก รสเฝื่อน ต้มดื่มแก้ธาตุพิการ ระบายท้อง ต้มกับน้ำมะพร้าวทาแก้ปวดท้อง
- ยาง รสเมาเบื่อร้อน มีพิษกัดมาก ใช้กัดหูด ทาแก้ปวดข้อ เข้าตาอาจบอดได้
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรพญาไร้ใบ
- ยางจากต้นพญาไร้ใบมีพิษ เมื่อสัมผัสกับน้ำยางสีขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมเป็นผื่นแดง ทำให้เกิดอาการคัน และเป็นอันตรายเมื่อเข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้
- ในน้ำยางมีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์ ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรงและยังเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง จึงควรระมัดระวังในการนำมาใช้
ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ดังนี้ : หนอนกระทู้ผัก, มอดแป้ง, เพลี้ยอ่อน, แมลงวันทอง, และ ป้องกันแมลงในโรงเก็บ การนำไปใช้ทางการเกษตร น้ำยางสีขาวมีพิษใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ และสามารถยับยั้งการฟักไข่ของด้วงถั่วเขียวได้