พริกหยวก

ชื่อสมุนไพร : พริกหยวก
ชื่ออื่น ๆ
: พริกเขียว, พริกหนุ่ม(พายัพ), พริกตุ้ม พริกตุ้มนาก(ไทย), พริก, พริกซ่อม
ชื่อสามัญ : Pepperoncini,Garden Pepper,Chilli Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum annuum Linn.
ชื่อวงศ์ : Solanaceae

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพริกหยวก เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียวหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ลักษณะลำต้นตั้งตรงและแตกกิ่งก้านมาก โคนต้นเป็นเนื้อไม้แข็ง ส่วนยอดเป็นเนื้อไม้อ่อน รากพริกหยวก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมๆ แทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและรากย่อย รากออกตามรอบๆลำต้น มีสีน้ำตาล
    พริกหยวก
  • ใบพริกหยวก เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร
  • ดอกพริกหยวก ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาวนวลเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังหรือรูปปากแตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก (แต่อาจจะมีกลับตั้งแต่ 4-7 กลีบก็ได้) โดยปกติจะมีเกสรเพศผู้ 5 อัน เท่ากับจำนวนกลีบดอก เกสรนี้จะแตกออกมาจากตรงโคนของกลีบดอก อับเกสรเพศผู้มักมีสีน้ำเงินและแยกตัวเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ยาว ๆ ส่วนเกสรเพศเมียจะชูขึ้นเหนือเกสรเพศผู้ ส่วนของยอดเกสรเพศเมียจะมีรูปร่างคล้ายกระบอกหัวมน ๆ ส่วนรังไข่มีพู 3 พู (อาจจะมี 2 หรือ 4 พูก็ได้) และดอกมีลักษณะห้อยลง
  • ผลพริกหยวก เป็นผลเดี่ยว มีลักษณะทรงกรวยยาว ปลายผลเรียว มีขนาดใหญ่ ผิวเปลือกหนาลื่นเป็นมัน พริกหยวกผลดิบมีสีเขียวอ่อน ผลสุกมีสีแดงอมส้ม ภายในผลกลวงมีแกนกลาง จะมีเมล็ดเล็กๆสีเหลืองอ่อน เกาะแกนกลางอยู่มากมาย มีรสชาติหวานกรอบ ใช้รับประทานสดๆ และประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู  เมล็ดพริกหยวก มีขนาดเล็กๆจำนวนมาก เกาะแกนกลางอยู่ภายในผล เมล็ดมีลักษณะกลมแบนเล็กๆ มีสีเหลืองอ่อน

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล

สรรพคุณ พริกหยวก :

  • ผล  มีสาร “แคบไซซิน” ใช้เป็นยาช่วยกระตุ้นน้ำย่อย นำไปผสมทำ เป็นขี้ผึ้งทาถูนวดรักษาอาการปวดเมื่อยเกี่ยวกับไขข้ออักเสบได้ ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้กามโรม แก้อาการปวดเมื่อย
Scroll to top