พริกไทย

ชื่อสมุนไพร : พริกไทย
ชื่ออื่นๆ :
พริกขี้นก , พริกไทยดำ , พริกไทยขาว , พริกไทยล่อน , พริกน้อย (ภาคเหนือ) , พริก (ใต้)
ชื่อสามัญ : Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์
 : Piper nigrum L.
ชื่อวงศ์ : Piperaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพริกไทย เป็นไม้เถา ประเภทเลื้อย อาศัยเกาะยึดติดอยู่กับค้าง โดยใช้รากเล็กๆ ที่เจริญออกมาตามข้อของลำต้นที่เรียกว่า รากตีนตุ๊กแกหรือมือตุ๊กแก เปลือกลำต้นเมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีข้อและปล้องมองเห็นได้ชัดเจน ต้นเพศผู้และต้นเพศเมียจะอยู่ต่างต้นกัน
    พริกไทย
  • ใบพริกไทย เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันตามข้อของลำต้นและกิ่งแขนง ลักษณะใบรูปไข่ โคนใบใหญ่ ปลายพริกไทยใบแหลม ขอบใบเรียบ ลักษณะคล้ายใบพลู เนื้อใบแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมัน ท้องใบจะเป็นสีเขียวออกเทา และมีเส้นใบนูน ส่วนหลังใบจะเป็นสีเขียวเข้ม

 

 

  • ดอกพริกไทย จะออกดอกเป็นช่อ เกิดตรงข้ามกับใบในส่วนของกิ่งแขนง ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง เกสรสีขาวแกมเขียว ช่อดอกขณะอ่อนจะมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะมีสีเขียวและปลายช่อดอกจะห้อยลงดิน
  • ผลพริกไทย ลักษณะรูปทรงกลม เรียงบิดตัวกันอย่างหนาแน่นอยู่กับแกนของช่อ ผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนพริกไทยและจะเข้มขึ้นตามอายุของผล ผิวของผลจะมีลักษณะเป็นมันเงาและเปลี่ยนเป็นสีเขียวปนเหลือง ผลแก่สุกเต็มที่จะมีสีส้มหรือสีฃแดง เมื่อผลแห้งจะเป็นสีดำ

 

 

  • เมล็ดพริกไทย จะมีสีขาวนวล ลักษณะแข็ง รูปร่างค่อนข้างกลม ภายในเมล็ดมีต้นอ่อนขนาดเล็กอยู่ เมล็ดมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัวและมีรสเผ็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ผล, เมล็ด, ดอก

สรรพคุณ พริกไทย :

  • ผล รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร โดยกระตุ้นปุ่มรับรสที่ลิ้นทำให้กระเพาะอาหารหลังน้ำย่อยเพิ่มขึ้น แก้ลมอัมพฤกษ์ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้เสมหะ แก้มุตกิด ระงับอาการปวดท้อง แก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรคและกระตุ้นประสาท
  • ใบ รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียดแน่น แก้ปวดมวนท้อง บำรุงธาตุ แก้นอนไม่หลับ แก้เสมหะ
  • ดอก รสร้อน แก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง 
  • ราก รสร้อน บำรุงธาตุ แก้เสมหะ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • เถา ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้เสมหะ
  • ผล เถา ราก และใบ มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะและลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้กระเพาะเย็นชื้น แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ แก้อาเจียนเป็นน้ำ แก้ท้องเสีย แก้ปวด แก้หลอดลมอักเสบเนื่องจากลมขึ้น แก้หืดหอบ ไอเย็น ช่วยละลายเสมหะ ขับเหงื่อ และขับปัสสาวะ
Scroll to top