พลูคาว (ผักคาวทอง)

ชื่อสมุนไพร : พลูคาว
ชื่ออื่น ๆ
: ผักเข้าตอง, ผักคาวปลา(ภาคเหนือ),  ผักก้านตอง(แม่ฮ่องสอน), ฮื่อชอเช่า(จีน), ผักคาวทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Houttuynia cordata Thunb.
ชื่อวงศ์ : SAURURACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • พลูคาว เป็นพรรณไม้ที่มีขนาดเล็ก และก็ไม่สูงนักส่วนโคนของลำต้นที่แตะดินนั้นจะมีรากออกมาตามข้อของต้น ลำต้นมีสีเขียวและสูงประมาณ 6-20 นิ้ว
    พลูคาว
  • ใบพลูคาว ออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ มีสีเขียวท้องใบจะมีลายเส้นสีม่วงอ่อน ๆ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5-2.5 นิ้วยาว 1.5-3 นิ้ว ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว
  • ดอกพลูคาว ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกนี้จะประกอบไปด้วยดอกเล็ก ๆ จำนวนมากติดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอกยาว 1 นิ้วมีสีขาวออกเหลือง และในแต่ละช่อนั้นจะมีกลีบรองดอกสีขาวอยู่ 4 กลีบ แต่ละกลีบยาว 1 นิ้วปลายกลีบมน
  • ผลพลูคาว เมื่อดอกแก่หรือร่วงโรยไปก็จะกลายเป็นผล ซึ่งผลนี้จะมีลักษณะกลมรีตรงปลายผลแยกออกเป็น 3 แฉก จะออกรวมตัวเรียงกันแน่นยาวเป็นรูปทรงกระบอก เมล็ดรูปมนรี

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ต้นสด, ใบสด, ดอก

สรรพคุณ พลูคาว :

  • ทั้งต้น รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร พืชนี้ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
  • ต้น  ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง ดากออก งูพิษกัด และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น
  • ใบ  ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย ต้มน้ำรดต้นฝ้าย ข้าวสาลี และข้าว ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย พืชนี้ใช้รับประทานเป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ออกหัด
  • ดอก  ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง ใช้พืชนี้ต้มรับประทานติดต่อกันเป็นประจำ แก้โรคน้ำกัดเท้า อาจรับประทานน้ำต้มจากพืชอย่างเดียวหรือผสมวิตามินเอและวิตามินรวมด้วย ได้มีการขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ตำรับยานี้
Scroll to top