ชื่อสมุนไพร : พวงชมพู
ชื่ออื่นๆ : หงอนนาก (ปัตตานี), พวงนาก (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Mexican Creeper, Bee Bush, Bride’s tears, Coral Vine, Chain of Love
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antigonon leptopus Hook. & Arn.
ชื่อวงศ์ : Polygonaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นพวงชมพู เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีเถาเนื้ออ่อนขนาดเล็ก แต่ตรงส่วนโคนจะแข็งแรงมาก ลำเถาเป็นสีเขียวอ่อน มีมือสำหรับยึดเกาะพันต้นไม้หรือกิ่งอื่นเพื่อการทรงตัว และสามารถเลื้อยพันสิ่งต่าง ๆ ไปได้ไกลประมาณ 40 ฟุต
- ใบพวงชมพู ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบช่วงโคนมักมีขนาดใหญ่กว่าใบช่วงปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นใบโพธิ์หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักมนไม่แหลมหรือเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบและเส้นแขนงย่อยชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร
- ดอกพวงชมพู ออกดอกเป็นช่อรวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบ ง่ามกิ่งและปลายยอดส่วยปลายยอดสุด จะเป็นมือเกาะ ออกสีชมพูสดใสในกลุ่ม ดอกจะประกอบด้วยช่อดอกเรียงดอกสลับทางติดกันอยู่อย่างหนาแน่น ลักษณะรูปร่างของดอกมีทรงคล้ายรูปหัวใจ ดอกมีขนาดเล็ก คือ ประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกพวงชมพูมีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกที่คล้ายกัน ออกกลุ่มหนึ่งๆของพวงชมพู อาจจะชูเป็นช่อตั้ง หรืออาจจะห้อยอป็นพวงระย้าลงก็ได้ ช่อดอกจะมีความยาวประทาณ 10-15 เซนติเมตร
- ผลพวงชมพู ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร มีกลีบรวมที่ขยายหุ้ม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เถา
สรรพคุณ พวงชมพู :
- รากและเถา สามารถนำมาสกัดเป็นยากล่อมประสาท เมื่อดื่มกินเข้าไปแล้วทำให้นอนหลับง่าย-หลับสบาย
ด้วยการใช้เถาประมาณ 1 กำมือ หรือใช้รากประมาณ 1/2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว แล้วต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนนอนครั้งละ 3 ช้อนแกง
ส่วนที่ใช้บริโภค : ดอกมีวิตามินเอ ช่วยในการบำรุง สายตา ยอดอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก ดอกกินสดหรือชุบแป้งทอด ลวกจิ้มน้ำพริกกินกับข้าวได้