พุงแก

ชื่อสมุนไพร : พุงแก
ชื่ออื่น ๆ
: พุงขึ้, น้ำนอง(ภาคกลาง), เกี่ยวคอไก่(นครราชสีมา), ขี้กา, ไซซู(เลย), ขี้กาต้น, หนามขี้แฮด(ภาคเหนือ), เดือยไก่(สตูล), เมาขึ้น(ปราจีนบุรี), สายชู, สายซู่(ขอนแก่น)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capparis siamensis Kura.
ชื่อวงศ์ : CAPPARIDACEAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพุงแก ไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้น บางครั้งพบเป็นไม้เถา สูง 3-8 ม. กิ่งอ่อนสีเทา หรือ น้ำตาล มีขนเป็นรูปดาว ในไม่ช้าขนจะเกลี้ยง หนามถ้ามีจะเรียวบาง ส่วนมากจะโค้งลง ยาว 1-3 มม.
  • ใบพุงแก รูปไข่ กว้าง 3-4.5 ซม. ยาว 6-9 ซม. ปลายใบแหลม ส่วนมากจะแหลมเป็นติ่ง โคนใบกึ่งเป็นรูปพุงแกหัวใจ เส้นกลางใบและเส้นใบเห็นชัดทางด้านล่าง สีน้ำตาล หรือ เหลือง เส้นใบมี 4-5 คู่ สองคู่แรกจะออกใกล้ ๆ โคนใบ ก้านใบยาว 0.5-1.3 ซม.

 

 

  • ดอกพุงแก ออกเป็นช่องตามง่ามใบ ก้านดอกย่อยยาว 0.7-1.2 ซม. มีขนนุ่ม กลีบรองกลีบดอก กว้าง 3-5 มม. ยาว 8-10 มม. กลีบคู่นอกเป็นรูปเรือ มีขนรูปดาวกระจายทั่วไปทางด้านนอก ด้านในมีขนหนาแน่น กลีบคู่ในด้านนอกมีขนหนาแน่นโดยเฉพาะที่ปลาย ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่กลับ บางครั้งเป็นรูปซ้อน กว้าง (13-) 18-27 มม. ยาว 7-10 มม. สีเขียว หรือ ขาว ด้านนอกมีขนสีน้ำตาล ด้านในเกลี้ยง กลีบคู่บนมีจุดสีเหลืองเข้ม ยาว 2-2.7 ซม. มีขนสีเทาหนาแน่น รังไข่ รูปไข่ ปลายแหลม มีขนหนาแน่น ยอดเกสรเมียเป็นตุ่ม.
  • ผลพุงแก ค่อนข้างกลม รี หรือ รูปไข่ ยาว 3-3.5 ซม. ปลายแหลม เปลือกหนา 2-3 มม. มีตุ่มเล็ก ๆ ขนาด 2 มม. เรียงตามยาวประมาณ 8 แถว เมื่อสุกสีแดง. เมล็ด กว้าง 5 มม. ยาวประมาณ 7 มม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ผล, ต้น, เนื้อไม้, ราก

สรรพคุณ พุงแก :

  • ใบ รสเฝื่อนเมา แก้ไข้ฝีกาฬ แก้ไข้สันนิบาต แก้ตะคริว ต้มอาบแก้ผดผื่นคัน
  • ดอก รสขื่นเมา แก้โรคมะเร็ง
  • ผล รสขื่นปร่า แก้เจ็บคอ แก้คออักเสบ
  • ต้น รสขื่นปร่า แก้ฟกบวม
  • เนื้อไม้ เผาเป็นถ่าน รสเย็น สีฟันทำให้ฟันขาวสะอาด
  • ราก  รสขมขื่น แก้ไข้เพื่อลม ขับลมในท้อง แก้ไข้ทุกชนิด แก้ร้อนใน
Scroll to top