ชื่อสมุนไพร : ฟักข้าว
ชื่ออื่น ๆ : มะข้าว (แพร่), ขี้กาเครือ (ปัตตานี), พุกู้ต๊ะ (แม่ฮ่องสอน), ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica cochinchinensis Spreng.
ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ใบฟักข้าว ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน โดยยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ประมาณ 3-5 แฉก
- ดอกฟักข้าว ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง ส่วนก้านเกสรและกลีบละอองจะมีสีม่วงแกมดำหรือสีม่วงแกมน้ำตาล ใบเลี้ยงประดับมีขน โดยดอกฟักข้าวจะเป็นดอกแบบไม่สมบูรณ์เพศ แยกเป็นดอกเพศเมียและดอกเพศผู้จะอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็ก ปลายใบมน ส่วนดอกเพศผู้ปลายใบแหลม ดอกฟักข้าวมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ
- ผลฟักข้าว มีลักษณะคล้ายรูปไข่กลมรี ที่เปลือกมีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล ผลอ่อนจะมีสีเขียวอมเหลือง แต่เมื่อสุกแล้วผลจะมีสีแดงหรือสีส้มอมแดง ผลสุกเนื้อจะเป็นสีเหลือง มีเยื่อกลางหุ้มเมล็ดเป็นสีแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เมล็ด, ราก
สรรพคุณ ฟักข้าว :
- ใบ นำมาปรุงเป็นยาเขียว และใช้ดับหรือถอนพิษทุกชนิด
- เมล็ด ปรุงเป็นยาแก้วัณโรค และช่วยบำรุงปอด
- ราก มีรสเย็น ใช้ดับพิษไข้ทุกชนิด ซึ่งรากนี้จะเบื่อเล็กน้อยใช้ถอนพิษต่าง ๆ
ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้าย ๆ กับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ