ชื่อสมุนไพร : มหาหงส์
ชื่ออื่นๆ : เลเป ลันเต (ระยอง จันทบุรี), ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (ภาคเหนือ), ว่านกระชายเห็น สะเลเต (ภาคอีสาน), กระทายเหิน หางหงส์ (ภาคกลาง), ตาเหิน (คนเมือง,ไทลื้อ), เฮวคำ (ไทใหญ่)
ชื่อสามัญ : Butterfly lily, Garland flower, Ginger lily, White ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hedychium coronarium J. Koenig
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- มหาหงส์ เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สูง 1.5-2 เมตร
- ใบมหาหงส์ ใบเดี่ยว เรียงสลับซ้อนเป็นสองแถว รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 30-50 ซม. ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน หลังใบมีขนนุ่มบางๆ
- ดอกมหาหงส์ สีขาวนวล ออกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด มีใบประดับรูปไข่ เรียงซ้อนกันแน่น ดอกบานกว้าง 10 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบรองดอก เป็นหลอด ยาว 4 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกเป็นหลอด ยาว 9 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก ยาว 4 ซม. เกสรผู้เทียมรูปหลอด กว้าง 2.5 ซม. ยาว 4 ซม. กลีบปากมนกลม ปลายกลีบแยกเป็น 2 พู เกสรผู้ 1 อัน ยาวยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก
- ผลมหาหงส์ สีน้ำตาลแดง รูปไข่เกลี้ยง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าสด
สรรพคุณ มหาหงส์ :
- เหง้า เป็นยาบำรุงกำลัง ขับลม บำรุงไต
ตากแห้งแล้วบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน กินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบซีด โลหิตจาง ปวดเมื่อย) - น้ำมันจากเหง้า ฆ่าแมลง