มหาหิงคุ์

ชื่อสมุนไพร : มหาหิงคุ์
ชื่ออื่นๆ :
  หินแมงค์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ferula assa-foetida L.
ชื่อวงศ์ : UMBELLIFERAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • มหาหิงคุ์ เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-3 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ มหาหิงคุ์ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน  ลักษณะของมหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน

 

  • ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก
  • ดอกมหาหิงคุ์ ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ในแต่ละก้านจะแยกออกจากกัน ดอกเพศเมียเป็นสีเหลือง ส่วนดอกเพศผู้เป็นสีขาว มีกลีบ 5 กลีบ และจะอยู่ต่างช่อกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีรังไข่ 2 อัน และมีขนปุกคลุม
  • ผลมหาหิงคุ์ ผลเป็นผลคู่ แบบแบน ลักษณะเป็นรูปไข่ยาวรี

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยาง

สรรพคุณ มหาหิงคุ์ :

  • ยาง จากรากหรือลำต้นมีรสเผ็ดขม กลิ่นฉุน เป็นยาอุ่น ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะลำไส้ ตับ และม้าม ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยขับเสมหะ ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาหารไม่ย่อย ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดกระเพาะ แก้บิด
Scroll to top