ชื่อสมุนไพร : มะขามเทศ
ชื่ออื่น : มะขามข้อง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นมะขามเทศ เป็นไม้ต้น สูง 15 ม. เปลือกเรียบและมีหนาม ในตำแหน่งรอยก้านใบ (leaf scar) ลำต้นสีเทาแกมขาวหรือเทาดำ
- ใบมะขามเทศ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ขอบใบ 2 ข้างโค้งไม่เท่ากัน ผิวใบเรียบถึงมีขนเล็กน้อย ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุม โคนก้านใบมีหูใบคล้ายหนาม
- ดอกมะขามเทศ ดอกช่อเกิดที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเชื่อม ติดกันเป็นหลอด เกสรเพศเมีย 1 อัน
- ผลมะขามเทศ ฝักค่อนข้างแบนถึงทรงกระบอกมีรอยคอดตามแนวสัน และเปลือกนูนตามจำนวนเมล็ด ผลขดเป็นวงหรือเป็นเกลียวกว้าง 1-2 ซม. ยาว 5-15 ซม. เนื้อผลเมื่อแก่จัดสีชมพูหรือสีแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, ใบ, ผล, เมล็ดแก่
สรรพคุณ มะขามเทศ :
- เปลือกต้น ป้องกันโรคฟันผุ
- ใบ ยาระบาย รักษาบาดแผล แก้พิษแมลงป่อง
- ผล ต้านมะเร็ง ช่วยในการขับถ่าย และช่วยลดปัญหาของอาการท้องผูก ช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง บำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม ลดระดับคอเลสเตอรอล เสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีส่วนช่วยในการป้องกันอาการอ่อนเพลียรักษาโรคโลหิตจาง แก้ไอ ขับเสมหะในลำไส้ สมานแผลห้ามเลือด รักษาโรคปากเปื่อยหรือโรคปากนกกระจอกเทศ บรรเทาอาการปวดฟัน
- เมล็ดแก่ ยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก