มะยม

ชื่อสมุนไพร : มะยม
ชื่ออื่นๆ :
หมากยม(ภาคอีสาน), ยม(ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Star Gooseberry
ชื่อวิทยาศาสตร์
 : Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะยม เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้น ตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
    มะยม
  • ใบมะยม เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ
  • ดอกมะยม ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ
  • ผลมะยม เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบตัวผู้, ผลตัวเมีย, รากตัวผู้

สรรพคุณ มะยม :

  • ใบ  แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้
  • ผล  ใช้เป็นอาหารรับประทาน ช่วยให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ
  • ราก  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

[su_quote]สำหรับการใช้ประโยชน์ทางยา แพทย์แผนโบราณมักนิยมใช้รากของมะยมตัวผู้ (มะยมที่ออกดอกเต็มต้นและร่วงหล่นไปไม่ติดลูก) ในการปรุงยากล่าวกันว่ามีคุณภาพดีกว่ามะยมตัวเมีย[/su_quote]
[su_spoiler title=”สารที่พบ : ” icon=”arrow”]
ผล มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C
ราก มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid[/su_spoiler]

Scroll to top